Tuesday, October 18, 2016

การอภิบาลในโรงเรียนคาทอลิก


คำสอนของพระศาสนจักรเรื่องการอภิบาลในโรงเรียนคาทอลิก

เรียบเรียงโดย คุณพ่อจรัล  ทองปิยะภูมิ

พระดำรัสของสมเด็จพระสันตะปาปายอหน์ปอลที่สองให้ความกระจ่างชัดว่า "โรงเรียนคาทอลิกไม่ใช่องค์ประกอบชายขอบ หรือองค์ประกอบรอง ของพันธกิจอภิบาลของพระสังฆราช"


GE 2. การศึกษาคริสต์  

คริสตชนทุกคนได้เกิดใหม่ด้วยน้ำและองค์พระจิตกลายเป็นสิ่งสร้างใหม่ พวกเขาจึงได้ชื่อว่าเป็นและควรจะเป็นบุตรของพระเจ้า พวกเขาจึงมีสิทธิได้รับการศึกษาคาทอลิก การศึกษาคริสต์มิได้มุ่งเพียงแต่ให้บรรลุการเจริญวุฒิภาวะของตัวบุคคลมนุษย์ แต่การศึกษาคริสต์ต้องมีจุดมุ่งหมายหลักดังต่อไปนี้:
  • ) ขณะที่ผู้รับศีลล้างบาปค่อยๆ รับการสอนถึงธรรมล้ำลึกแห่งความรอดพ้น พวกเขาก็ค่อยๆ ตระหนักมากขึ้นถึงของพระพรแห่งความเชื่อที่ตนได้รับ และเรียนรู้ที่จะนมัสการพระบิดาเจ้าเดชะพระจิตเจ้าและตามความจริง (. ยน:23) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในชีวิตพิธีกรรม อีกทั้งดำเนินชีวิตในสภาพมนุษย์ใหม่ซึ่งพระเจ้าทรงเนรมิตให้เหมือนพระองค์  มีความชอบธรรมและความศักดิ์สิทธิ์ที่มาจากความจริง  (. อฟ. 4:22-24)
  • ) พวกเขาพัฒนาตนเองให้มีความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ตามมาตรฐานความสมบูรณ์ของพระคริสตเจ้า (. อฟ. 4:13) และพยายามมุ่งสู่การเจริญเติบโตของพระกายทิพย์ 
  • ) นอกจากนี้ โดยตระหนักในกระแสเรียกของตน พวกเขาไม่เพียงแต่เรียนรู้ที่จะเป็นประจักษ์พยานแห่งความหวังที่อยู่ในตัวพวกเขา (. 1ปต. 3:15) แต่ยังเรียนรู้ที่จะมีส่วนร่วมในการบริรูปหล่อหลอมโลกแบบคริสต์ (Christian formation of the world) ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อพลังตามธรรมชาติที่ร่วมกันประกอบเพื่อความดีของสังคมโดยรวมนั้น เป็นพลังของของมุษย์ที่ได้รับอานิสงค์การไถ่กู้ของพระคริตเจ้า ด้วยเหตุนี้ สภาสังคายนาฯ ขอย้ำเตือนผู้อภิบาลสัตบุรุษให้ตระหนักถึงหน้าที่ที่สำคัญในการดูแลเหล่าสัตบุรุษทุกคน โดยเฉพาะเยาวชนผู้เป็นความหวังของพระศาสนจักรให้ได้รับการศึกษาคริสต์

GE 5. ความสำคัญของสถาบันโรงเรียนและกระแสเรียกครู

โรงเรียนไม่ได้มีเป้าหมายเพียงเพื่อพัฒนาสมรรถนะทางสติปัญญาอย่างเอาใจใส่เท่านั้น แต่ยังมีเป้าหมายเพื่อบริรูปหล่อหลอมสมรรถนะในการตัดสินใจอย่างถูกต้อง เพื่อถ่ายทอดมรดกทางวัฒนธรรมจากชนรุ่นก่อน เพื่อเสริมสร้างสำนึกแห่งคุณค่า และเพื่อเตรียมความพร้อมในการประกอบอาชีพ โรงเรียนทำหน้าที่ส่งเสริมมิตรภาพและจิตตารมณ์แห่งความเข้าใจซึ่งกันและกันในหมู่นักเรียนที่มีความสามารถและภูมิหลังที่แตกต่างกัน โรงเรียนยังเป็นจุดศูนย์รวมความร่วมมือกันระหว่างครอบครัว ครู และสมาคมต่างๆ ที่เสริมสร้างชีวิตทางด้านวัฒนธรรม ด้านการเป็นพลเมือง และด้านศาสนา

กระแสเรียกที่งดงามและสำคัญอย่างยิ่งคือกระแสเรียกของผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นคนช่วยเหลือพ่อแม่ในการทำหน้าที่ของตน อีกทั้งเป็นตัวแทนของชุมชนในการให้การศึกษาในโรงเรียน ผู้ที่ได้รับกระแสเรียกเช่นนี้จำเป็นต้องมีปัญญาและจิตใจดีงามเป็นพิเศษ ต้องมีการเตรียมตัวด้วยความเอาใจใส่อย่างมาก อีกทั้งต้องพร้อมที่จะฟื้นฟูและปรับปรุงพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง

GE 7. รูปแบบการอภิบาลของพระศาสนจักรในโรงเรียน 
พระศาสนจักรรับรู้ถึงภาระรับผิดชอบอันหนักหน่วงในการดูแลให้การศึกษาอบรมทางด้านศีลธรรมและด้านศาสนาให้แก่บรรดาลูกๆ ทุกคนอย่างเอาการเอางาน พระศาสนจักรต้องอยู่เคียงข้าง มอบความรักเป็นพิเศษ และให้ความช่วยเหลือแก่ลูกๆ จำนวนมากที่ไม่ใช่คาทอลิก และกำลังได้รับการอบรมอยู่ในโรงเรียน พระศาสนจักรสามารถทำหน้าที่เช่นนี้ได้ ต้องอาศัยการดำเนินชีวิตเป็นประจักษ์พยานของบรรดาผู้ที่มีหน้าที่ในการสอนและนำทางลูกๆ เหล่านี้ และต้องอาศัยการปฏิบัติตนเยี่ยงธรรมทูตของบรรดาเพื่อนนักเรียนของพวกเขา แต่ที่สำคัญเป็นพิเศษ ต้องอาศัยพระสงฆ์และฆราวาสที่ถ่ายทอดคำสอนแห่งการไถ่กู้ ด้วยวิธีการที่เหมาะสมกับวัยและสภาวะแวดล้อมของพวกเขา อีกทั้งให้ความช่วยเหลือทางจิตวิญญาณแก่พวกเขาในทุกๆ ทาง ที่เวลาและปัจจัยแวดล้อมจะเอื้ออำนวย
GE 8, LC 38, RD 1. อัตลักษณ์โรงเรียนคาทอลิก

เช่นเดียวกับโรงเรียนอื่นๆ โรงเรียนคาทอลิกมุ่งบรรลุเป้าหมายทางวัฒนธรรมและการบริรูปหล่อหลอมด้านความเป็นมนุษย์ของเยาวชน แต่พันธกิจเฉพาะของโรงเรียนคาทอลิกที่ทำให้โรงเรียนคาทอลิกแตกต่างจากโรงเรียนอื่นคือ  ความพยายามในการสร้างบรรยากาศของชุมชนที่ซึมซาบไปด้วยจิตตารมณ์พระ
วรสารแห่งอิสรภาพและความรัก โรงเรียนคาทอลิกพยายามที่จะนำทางเยาวชนให้พัฒนาบุคคลของตนควบคู่กันไปกับการพัฒนาความเป็นสิ่งสร้างใหม่โรงเรียนคาทอลิกพยายามที่จะเชื่อมโยงวัฒนธรรมมนุษย์กับข่าวดีแห่งความรอดพ้น เช่นนี้แล้ว ความรู้ที่นักเรียนเรียนรู้เกี่ยวกับโลก ชีวิต และมนุษย์ จะได้รับการส่องสว่างจากความเชื่อ  และนำพวกเขาไปสู่การเจริญชีวิตผู้เผยแผ่ธรรม 

RD 33. โรงเรียนคาทอลิกมีอัตลักษณ์ที่ชัดเจนของการเป็นเครื่องมือที่แท้จริงและเฉพาะเจาะจงของพระศาสนจักร โรงเรียนคาทอลิกเป็นที่แห่งการประกาศพระวรสาร การเผยแผ่ธรรมที่แท้จริง และการทำงานอภิบาล ในสารัตถะของตัวมันเอง มิเพียงแต่ในรูปแบบกิจกรรมเสริม หรือคู่ขนาน หรือนอกหลักสูตร

GE 9. หน้าที่ของผู้อภิบาลและสัตบุรุษต่อโรงเรียนคาทอลิก

สภาสังคายณาฯ ขอวิงวอนอย่างหนักหน่วงไปยังผู้อภิบาลและสัตบุรุษทั้งหลาย ขอจงอย่ารั้งรอที่จะทุ่มเทเสียสละอย่างเต็มที่เพื่อช่วยให้โรงเรียนคาทอลิกสามารถปฏิบัติหน้าที่ของตนได้สมบูรณ์แบบมากยิ่งๆ ขึ้นไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งหน้าที่ในการสงเคราะห์ช่วยเหลือผู้ยากไร้ขาดทรัพย์ฝ่ายโลก หรือผู้ที่ขาดความช่วยเหลือและความรักจากครอบครัว หรือผู้ที่ยังไม่รู้จักพระพรแห่งความเชื่อ

RD 31. โรงเรียนคาทอลิก: เครื่องมือในการอภิบาล 
เพื่อประกอบพันธกิจแห่งการประกาศข่าวดีและส่งเสริมการบริรูปหล่อหลอมมนุษย์ทั้งครบอย่างมีประสิทธิภาพ พระศาสนจักรได้พัฒนาเครื่องมือในการอภิบาล โรงเรียนคาทอลิกเป็นหนึ่งในเครื่องมือในการอภิบาลเหล่านี้ หน้าที่ในการอภิบาลที่เฉพาะเจาะจงของโรงเรียนคาทอลิกคือการเชื่อมโยงความเชื่อกับวัฒนธรรม โดยธำรงความร่วมสมัยของพระวรสาร และขณะเดียวกันก็เคารพในความเป็นเอกเทศและระเบียบแบบแผนที่เหมาะสมกับความรู้ของมนุษย์

LC 68. การอภิบาลคือการบริรูปหล่อหลอมบุคคล 
การบริรูปหล่อหลอมบุคคลนับเป็นกระบวนการที่ถาวร การบริรูปหล่อหลอมดังกล่าวมิได้จำกัดเฉพาะการบริรูปหล่อหลอมด้านวิชาชีพแต่ยังรวมถึงการบริรูปหล่อหลอมทางศาสนาและการเสริมสร้างตัวบุคคลในทุกมิติ ในการนี้ พระศาสนจักรจะพยายามอยู่อย่างสม่ำเสมอที่จะประยุกต์พันธกิจด้านอภิบาลให้เข้ากับสภาพแวดล้อมของมนุษย์ทุกยุคสมัย เพื่อว่าสารของพระเยซูคริสต์จะสามารถสื่อไปถึงพวกเขาอย่างเข้าใจได้
CS 78. ครูเป็นประจักษ์พยานถึงคุณค่าพระวรสาร 
โดยการเป็นประจักษ์พยานและความประพฤติของตน ครูมีบทบาทสำคัญเป็นอันดับแรกที่จะเผยแสดงคุณสมบัติเฉพาะของโรงเรียนคาทอลิก ดังนั้นการอบรมครูอย่างต่อเนื่องในรูปแบบของกิจกรรมเชิงอภิบาลที่เหมาะสมจึงเป็นสิ่งที่ขาดเสียมิได้ การอบรมนี้ต้องมุ่งสร้างแรงบันดาลใจให้ครูเป็นประจักษ์พยานถึงคุณค่าพระวรสารในห้องเรียน และแก้ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับงานเผยแผ่ธรรมของพวกเขา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปัญหาเกี่ยวกับมุมมองตามหลักคริสตธรรมต่อโลกและต่อการศึกษา ปัญหานี้ยังอาจจะเกี่ยวข้องกับศิลปะของการสอนตามหลักการพระวรสาร
TM 11. อัตลักษณ์ความเป็นชุมชนวัดของโรงเรียนคาทอลิก 
ความซับซ้อนของโลกปัจจุบันทำให้มีความจำเป็นมากขึ้นที่ต้องตระหนักมากขึ้นถึงอัตลักษณ์ความเป็นชุมชนวัด (ecclesial identity) ของโรงเรียนคาทอลิก จากอัตลักษณ์คาทอลิกนี้เอง โรงเรียนได้รับคุณลักษณะดั้งเดิมและโครงสร้างที่เป็นเครื่องมือแท้จริงของพระศาสนจักร และที่เป็นสถานที่ในการทำงานอภิบาลที่แท้จริงและเฉพาะเจาะจง โรงเรียนคาทอลิกมีส่วนร่วมในพันธกิจการเผยแผ่ธรรมของพระศาสนจักร และเป็นสภาวะพิเสษของการให้การศึกษาอบรมตามหลักคริสตธรรม ด้วยเหตุนี้เองโรงเรียนคาทอลิกจึงเป็นทั้งสถานที่ในการเผยแผ่ธรรม การให้การบริรูปหล่อหลอมที่สมบูรณ์ การบูรณาการวัฒนธรรม รวมถึงการเป็นที่สถานที่ฝึกหัดเรียนรู้ การเสวนาระหว่างเยาวชนจากพื้นเพทางศาสนา และทางสังคามที่แตกต่างกันดังนั้นหัวใจของอัตลักษณ์โรงเรียนในฐานะที่เป็นสถาบันทางการสอนจึงอยู่ที่ธรรมชาติความเป็นชุมชนของโรงเรียนคาทอลิกนั่นเอง โรงเรียนคาทอลิกเป็นหน่วยของพระศาสนจักรที่แท้จริงและเหมาะสมก็ด้วยเหตุผลทางด้านกิจกรรมทางการศึกษาที่บูรณาการความเชื่อ วัฒนธรรม และชีวิตนั่นเอง  ดังนั้นจึงจำเป็นต้องเน้นย้ำว่า มิติความเป็นชุมชนวัดของโรงเรียนคาทอลิกนี้ไม่ได้เป็นเพียงส่วนประกอบส่วนหนึ่ง แต่เป็นลักษณะที่เหมาะสมและเฉพาะเจาะจง  เป็นคุณสมบัติเฉพาะที่ซึมซาบอยู่ และบ่งบอกได้ ในทุกขณะของการดำเนินกิจกรรมทางการศึกษา มิติความเป็นชุมชนวัดยังเป็นพื้นฐานของอัตลักษณ์โรงเรียนและเป็นจุดรวมของพันธกิจของโรงเรียน การส่งเสริมมิติดังกล่าวจึงควรเป็นเป้าหมายของทุกคน ที่รวมกันเป็นชุมชนทางการศึกษา 
LC 41. หน้าที่อภิบาลของชุมชนทางการศึกษา 
ชุมชนทางการศึกษาของโรงเรียนคาทอลิกควรพยายามที่จะเป็นชุมชนที่เป็นประจักษ์พยานถึงคุณค่าพระ วรสาร สิ่งนี้ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ หากไม่มีการทุ่มเทของกลุ่มต่างๆ ที่เป็นองคาพยพของชุมชนทางการศึกษา อย่างน้อยบางส่วนของทุกๆ กลุ่ม อันได้แก่ ผู้ปกครอง ครู และนักเรียน ดังนั้นแต่ละกลุ่มควรได้รับการเอาใจใส่ด้านอภิบาลอย่างทั่วถึงและอย่างมีส่วนร่วม โดยหล่อเลี้ยงด้วยการเจริญชีวิตตามคุณค่าพระวรสาร 
LC 44. , CP 15. บวร: "บ้าน"  "วัด" "โรงเรียน
การดำเนินงานของโรงเรียนคาทอลิกจำต้องสอดประสานอย่างเอื้ออำนวยกันกับกิจกรรมอภิบาลของพระศาสนจักรท้องถิ่น จำต้องสร้างความร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดและมีประสิทธิภาพระหว่างโรงเรียนคาทอลิกกับโรงเรียนคาทอลิกกับโรงเรียนอื่นๆ และกับชุมชน การที่จะหลอมรวม "บ้าน" "วัด" "โรงเรียน" เป็นหนึ่งเดียวกันในระดับอภิบาลนั้น นับว่าเป็นภารกิจที่ท้าทายอย่างยิ่ง ภารกิจที่สำคัญเป็นอันดับแรกคือการส่งเสริมจิตวิถีแห่งการหลอมรวมเป็นหนึ่ง ที่สามารถอภิวัฒน์หลักการทางการศึกษาในสภาวะแวดล้อมต่างๆ ที่บุคคลมนุษย์ได้รับการบริรูปหล่อหลอม 
RD 19.  การฟื้นฟูงานอภิบาลของโรงเรียน 
หากโรงเรียนใดเป็นสถาบันทางวิชาการที่ดีเลิศ แต่กลับไม่สามารถเป็นประจักษ์พยานถึงคุณค่าพระ        วรสารได้ ความห่วงใยต่องานอภิบาลโรงเรียนนั้นย่อมต้องเรียกร้องให้มีการฟื้นฟูมิเพียงแต่เนื้อหาและวิธีการสอนศาสนาเท่านั้น แต่ต้องฟื้นฟูการวางแผนงานทั้งหมดของโรงเรียน  อันเป็นตัวกำหนดกระบวนการทั้งหมดของการบริรูปหล่อหลอมนักเรียน 
หมายเหตุ
(GE) Gravissimum Educationis “การศึกษาแบบคริสต์” 1965
(RD) The Religious Dimension “มิติด้านศาสนาของการศึกษาในโรงเรียนคาทอลิก
(LC) Lay Catholics in Schools “ฆราวาสคาทอลิกในโรงเรียน
(CS) The Catholic School “โรงเรียนคาทอลิก” 1977

(TM) The Catholic School on the Threshold of the Third Milennium “โรงเรียนคาทอลิกขณะกำลังเข้าสู่สหัสวรรษที่สาม

No comments:

Post a Comment