Wednesday, October 19, 2016



The Teaching of Catholic Church on
Pastoral Nature of Catholic School


The words of the Holy Father, John Paul II, make this abundantly clear: "the Catholic school is not a marginal or secondary element in the pastoral mission of the bishop."


GE 2. Christian Education

Since all Christians have become by rebirth of water and the Holy Spirit a new creature so that they should be called and should be children of God, they have a right to a Christian education. A Christian education does not merely strive for the maturing of a human person as just now described, but has as its principal purpose this goal: that the baptized, while they are gradually introduced the knowledge of the mystery of salvation, become ever more aware of the gift of Faith they have received, and that they learn in addition how to worship God the Father in spirit and truth (cf. John 4:23) especially in liturgical action, and be conformed in their personal lives according to the new man created in justice and holiness of truth (Eph. 4:22-24); also that they develop into perfect manhood, to the mature measure of the fullness of Christ (cf. Eph. 4:13) and strive for the growth of the Mystical Body; moreover, that aware of their calling, they learn not only how to bear witness to the hope that is in them (cf. 1Peter 3:15) but also how to help in the Christian formation of the world that takes place when natural powers viewed in the full consideration of man redeemed by Christ contribute to the good of the whole society. Wherefore this sacred synod recalls to pastors of souls their most serious obligation to see to it that all the faithful, but especially the youth who are the hope of the Church, enjoy this Christian education.


GE 5. The Importance of Schools

Among all educational instruments the school has a special importance. It is designed not only to develop with special care the intellectual faculties but also to form the ability to judge rightly, to hand on the cultural legacy of previous generations, to foster a sense of values, to prepare for professional life. Between pupils of different talents and backgrounds it promotes friendly relations and fosters a spirit of mutual understanding; and it establishes as it were a center whose work and progress must be shared together by families, teachers, associations of various types that foster cultural, civic, and religious life, as well as by civil society and the entire human community.

Beautiful indeed and of great importance is the vocation of all those who aid parents in fulfilling their duties and who, as representatives of the human community, undertake the task of education in schools. This vocation demands special qualities of mind and heart, very careful preparation, and continuing readiness to renew and to adapt.



GE 7. Moral and Religious Education in all Schools
Feeling very keenly the weighty responsibility of diligently caring for the moral and religious education of all her children, the Church must be present with her own special affection and help for the great number who are being trained in schools that are not Catholic. This is possible by the witness of the lives of those who teach and direct them, by the apostolic action of their fellow-students, but especially by the ministry of priests and laymen who give them the doctrine of salvation in a way suited to their age and circumstances and provide spiritual aid in every way the times and conditions allow.


GE 8, LC 38, RD 1. Identity of Catholic Schools

The influence of the Church in the field of education is shown in a special manner by the Catholic school. No less than other schools does the Catholic school pursue cultural goals and the human formation of youth. But its proper function is to create for the school community a special atmosphere animated by the Gospel spirit of freedom and charity, to help youth grow according to the new creatures they were made through baptism as they develop their own personalities, and finally to order the whole of human culture to the news of salvation so that the knowledge the students gradually acquire of the world, life and man is illumined by faith.(25) So indeed the Catholic school, while it is open, as it must be, to the situation of the contemporary world, leads its students to promote efficaciously the good of the earthly city and also prepares them for service in the spread of the Kingdom of God, so that by leading an exemplary apostolic life they become, as it were, a saving leaven in the human community.

RD 33. The Catholic school has had a clear identity, not only as a presence of the Church in society, but also as a genuine and proper instrument of the Church. It is a place of evangelization, of authentic apostolate and of pastoral action - not through complementaty or parallel or extra­curricular activity, but of its very nature: its work of educating the Christian person.


GE 9. Duties of Pastors and all the Faithful in Helping Catholic Schools

This Sacred Council of the Church earnestly entreats pastors and all the faithful to spare no sacrifice in helping Catholic schools fulfill their function in a continually more perfect way, and especially in caring for the needs of those who are poor in the goods of this world or who are deprived of the assistance and affection of a family or who are strangers to the gift of Faith.

RD 31. Catholic Schools: Pastoral Instrument
The Church gradually develops its pastoral instruments so that they may become ever more effective in proclaiming the Gospel and promoting total human formation. The Catholic school is one of these pastoral instruments; its specific pastoral service consists in mediating between faith and culture: being faithful to the newness of the Gospel while at the same time respecting the autonomy and the methods proper to human knowledge.


LC 68. Permanent Formation
Faced with this reality, which lay people are the first to experience, the Catholic educator has an obvious and constant need for updating: in personal attitudes, in the content of the subjects, that are taught, in the pedagogical methods that are used. Recall that the vocation of an educator requires " a constant readiness to begin anew and to adapt ". If the need for updating is constant, then the formation must be permanent. This need is not limited to professional formation; it includes religious formation and, in general, the enrichment of the whole person. In this way, the Church will constantly adapt its pastoral mission to the circumstances of the men and women of each age, so that the message of Jesus Christ can be brought to them in a way that is understandable and adapted to their condition.


CS 78. Teachers are Witnesses to Gospel Values
By their witness and their behaviour teachers are of the first importance to impart a distinctive character to Catholic schools. It is, therefore, indispensable to ensure their continuing formation through some form of suitable pastoral provision. This must aim to animate them as witnesses of Christ in the classroom and tackle the problems of their particular apostolate, especially regarding a Christian vision of the world and of education, problems also connected with the art of teaching in accordance with the principles of the Gospel. A huge field is thus opened up for national and international organisations which bring together Catholic teachers and educational institutions at all levels.


TM 11. The Ecclesial identity of Catholic Schools
The complexity of the modern world makes it all the more necessary to increase awareness of the ecclesial identity of the Catholic school. It is from its Catholic identity that the school derives its original characteristics and its "structure" as a genuine instrument of the Church, a place of real and specific pastoral ministry. The Catholic school participates in the evangelizing mission of the Church and is the privileged environment in which Christian education is carried out. In this way "Catholic schools are at once places of evangelization, of complete formation, of inculturation, of apprenticeship in a lively dialogue between young people of different religions and social backgrounds". The ecclesial nature of the Catholic school, therefore, is written in the very heart of its identity as a teaching institution. It is a true and proper ecclesial entity by reason of its educational activity, "in which faith, culture and life are brought into harmony". Thus it must be strongly emphasized that this ecclesial dimension is not a mere adjunct, but is a proper and specific attribute, a distinctive characteristic which penetrates and informs every moment of its educational activity, a fundamental part of its very identity and the focus of its mission. The fostering of this dimension should be the aim of all those who make up the educating community.

LC 41. The Educational Community
The educational community of a Catholic school should be trying to become a Christian community: a genuine community of faith. This will not take place, it will not even begin to happen, unless there is a sharing of the Christian commitment among at least a portion of each of the principal groups that make up the educational community: parents, teachers, and students. It is highly desirable that every lay Catholic, especially the educator, be ready to participate actively in groups of pastoral inspiration, or in other groups capable of nourishing a life lived according to the Gospel.

LC 44. , CP 15. Home Church and School"
The attitude should be one which will help to insert the Catholic school into pastoral activities, in union with the local Church - a perspective which must never be forgotten - in ways that are complementary to the activities of parish ministry. The initiatives and experiences of lay people should also help to bring about more effective relationships and closer collaboration among Catholic schools, as well as between Catholic schools and other schools - especially those which share a Christian orientation - and with society as a whole.

RD 19.  Pastoral Renewal of Catholic Schools
If a school is excellent as an academic institution, but does not witness to authentic values, then both good pedagogy and a concern for pastoral care make it obvious that renewal is called for - not only in the content and methodology of religious instruction, but in the overall school planning which governs the whole process of formation of the students

หมายเหตุ
(GE) Gravissimum Educationis “การศึกษาแบบคริสต์” 1965
(RD) The Religious Dimension “มิติด้านศาสนาของการศึกษาในโรงเรียนคาทอลิก”
(LC) Lay Catholics in Schools “ฆราวาสคาทอลิกในโรงเรียน”
(CS) The Catholic School “โรงเรียนคาทอลิก” 1977
(TM) The Catholic School on the Threshold of the Third Milennium “โรงเรียนคาทอลิกขณะกำลังเข้าสู่สหัสวรรษที่สาม”

Tuesday, October 18, 2016

ความท้าทายต่อโรงเรียนคาทอลิกในปัจจุบัน

การฟื้นฟูความกระตือรือร้นทางการศึกษาคาทอลิกขึ้นใหม่:
ความท้าทาย กลวิธี และมุมมองที่เกิดจาก
คำตอบแบบสอบถามของเอกสารเครื่องมือทำงาน


สมณกระทรวงการศึกษาคาทอลิก
โรม 2015




เอกสารนี้เป็นผลของการวิเคราะห์ข้อมูลจากคำตอบแบบสอบถามของเครื่องมือการทำงาน (Instrumentum Laboris) “การฟื้นฟูความกระตือรือร้นทางการศึกษาคาทอลิกขึ้นใหม่ที่ออกโดยสมณกระทรวงการศึกษาคาทอลิกในปี 2524 การวิเคราะห์ข้อมูลของ “Libera Università Maria Santissima Assunta” ที่ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ด้านสังคมศาสตร์ทำให้เราเห็นภาพรวมทั้งหมด วิธีการเชิงปริมาณเสริมด้วยการวิเคราะห์เชิงคุณภาพตามเทคนิควิธีสังคมวิทยาและจิตวิทยาทำให้เราเข้าใจจุดแข็งและจุดอ่อนของโครงสร้างการศึกษา ยิ่งไปกว่านั้น การวิเคราะห์ทางภาษาศาสตร์และจำนวนซ้ำการใช้คำทำให้เห็นการปรากฎชัดของแนวความคิดหลักที่เกิดซ้ำๆ ของการบริรูปหล่อหลอมทางการศึกษา (educational formation) ที่มีลักษณะเป็นองค์รวม มีลักษณะที่โอบรับ อีกทั้งมุ่งเน้นการบริการและการทุ่มเทเพื่อชุมชน วิธีการทางสถิติที่ทำให้เห็นการสอดรับกับแนวคิดหลักแต่รักษาความคิดหลากหลายของกลุ่มย่อยไว้นั้น ยิ่งทำให้เห็นพระพรพิเศษที่มีชีวิตของการทุ่มเทของเราในการจัดการศึกษาคาทอลิก

1. ความท้าทายเรื่องอัตลักษณ์และพันธกิจ

โรงเรียนคาทอลิก...‘รับใช้ประชากรของพระเจ้าและมนุษยชาติในความพยายามที่จะแสวงหาสัจธรรมวิสัยทัศน์อันศักดิ์สิทธิ์ของโรงเรียนคาทอลิกประการนี้ควรแก่การรับรู้ เจริญชีวิต และแบ่งปันในหมู่ประชาคมโรงเรียนโดยถ้วนหน้า ขณะเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ในนโยบายรัฐ อัตลักษณ์โรงเรียนคาทอลิกยิ่งต้องแน่วแน่มั่นคง...และการเป็นประจักษ์พยานโดยการเจริญชีวิตวิถีคริสต์คือหน้าที่สำคัญ” 

เราเชื่อมั่นว่า หัวใจของการศึกษาคาทอลิกคือพระบุคคลของพระเยซูคริสตเจ้า ทุกอย่างที่เกิดขึ้นในโรงเรียนคาทอลิกควรนำไปสู่การพบปะกับองค์พระเยซูเจ้า พระคริสต์ผู้ทรงพระชนม์


ในบริบทด้านวัฒนธรรม สังคม และเศรษฐกิจ ที่หลากหลาย อะไรคือลักษณะที่สำคัญ คุณสมบัติที่เราต้องไม่ละเลยหรือทำให้จืดจางลง? อะไรคือปัญหาสำคัญที่เรากำลังเผชิญ? และเราควรเผชิญมันอย่างไร?


ระหว่างการรักษาธรรมเนียมปฏิบัติกับการพัฒนา

ขณะนี้ได้เกิดความตระหนักโดยทั่วกันว่าอัตลักษณ์กำลังถูกท้าทายและคุกคามอย่างมาก เรากำลังเสี่ยงต่อการทำให้อัตลักษณ์อ่อนแอลง เราจึงรู้สึกถึงความจำเป็นที่เราจะทุ่มเทในการป้องกันและรักษามันเอาไว้

ในด้านหนึ่งมีความพยายามที่จะรักษาคุณค่าที่เป็นขนบธรรมเนียมปฏิบัติ และในอีกด้านหนึ่งก็มีความพยายามที่จะเปิดกว้างต่อสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงจากอดีต ซึ่งเรียกร้องให้เราทบทวนพันธกิจของเรา

ความพยายามที่จะรักษาอัตลักษณ์นี้อาจมีลักษณะของการตั้งป้อมรับมือ เพื่อรักษาคุณค่าที่เป็นธรรมเนียมปฏิบัติ ซึ่งถูกคุกคามโดยทุนนิยม โลกียะนิยม (secularism) ซึ่งทำลายล้างทุกอย่างที่เป็นเรื่องศักดิ์สิทธิ์และเป็นโลกุตระ (transcendental) และสัมพัทธ์นิยมเชิงวัฒนธรรมและศาสนา

อย่างไรก็ตาม การรักษาอัตลักษณ์ก็เป็นการเรียกร้องวิธีการใหม่ๆ ของการเป็นธรรมฑูต โดยการอยู่ในความเป็นจริงของชีวิตปัจจุบัน ไม่ปฏิเสธคุณค่าของความทันสมัย ความสำเร็จทางวิทยาศาสตร์ ประชาธิปไตยและสังคม แต่ขณะเดียวกันก็ตระหนักรู้ถึงความไม่ครบครันของคุณค่าเหล่านี้ ขณะที่แสวงหาความสุขแท้และความหมายที่แท้จริงของชีวิต

ระหว่างการดำรงอยู่อย่างไร้ความหมายหรืออย่างมีความหมาย?

อะไรคือความหมายที่แท้จริงการดำรงอยู่ของโรงเรียนคาทอลิก?
เราอาจสรุปเหตุผลของการดำรงอยู่ของโรงเรียนคาทอลิกได้ดังนี้:
  • ความจำเป็นของการประกาศพระวรสารในสังคมโลกียะนิยม เพื่อตอบสนองการเรียกร้องของพระศาสนจักรสากล
  • การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางสังคม โดยตระหนักถึงพันธกิจสำคัญของของโรงเรียน การต่อสู้กับความเหลี่ยมล้ำและการถูกเอารัดเอาเปรียบของคนยากจน 
  • การให้ชีวิตแก่พื้นที่ท้องถิ่น เพราะโรงเรียนมีความรับผิดชอบเกินขอบเขตกำแพงของตน แต่ครอบคลุมไปถึงชุมชนสังคมที่กว้างขึ้น 
  • การพัฒนาแรงงาน ในสถานการณ์ที่มีการว่างงานสูง และการที่เยาวชนหลุดออกนอกระบบการศึกษา
  • การมีส่วนร่วมในการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชน และการมีส่วนร่วมในการพัฒนาเพื่อความดีส่วนรวม

เมื่อวิเคราะห์เหตุผลข้างต้น เราพบสาเหตุสองประเภท กล่าวคือ ) โรงเรียนคาทอลิกเข้าแทนที่หรือสนับสนุนภาครัฐ ในกรณีที่ภาครัฐดำเนินการได้ไม่ดีพอ ) แม้ในกรณีที่ไม่มีความจำเป็นต้องเข้าแทนที่รัฐ โรงเรียนคาทอลิกก็ยังมีเหตุผลของการดำรงอยู่เพื่อการประกาศพระวรสาร ในการนี้ โรงเรียนจึงร่วมส่วนในพันธกิจของพระศาสนจักร

การดำรงอยู่ของโรงเรียนคาทอลิกจึงมิได้ตั้งอยู่บนพื้นฐานของการปฏิบัติต่อๆ กันมาจนเป็นธรรมเนียม ในการนี้ จึงไม่มีประโยชน์ที่จะคอยแข่งขันกับนโยบายสาธารณะทางการศึกษาของประเทศ แต่เราควรให้ความร่วมมือในนโยบายของประเทศ  โดยมีข้อยกเว้นเฉพาะเพียงข้อเดียว นั่นคือ  การประกาศพระ
วรสาร
ระหว่างการแข่งขันกับการรับใช้

เราต้องตระหนักถึงความเชื่อมโยงระหว่างพันธกิจของโรงเรียนคาทอลิกกับการประกาศพระวรสาร ที่จริงแล้ว การประกาศพระวรสารไม่มีสูตรสำเร็จ แต่ต้องให้ความสำคัญต่อสถานการณ์ทางสังคม วัฒนธรรม และการเมือง ที่กำลังเผชิญอยู่ ความเชื่อมโยงระหว่างพันธกิจกับการประกาศพระวรสารนี้เป็นทั้งเรื่องพื้นฐานและเรื่องต้นตำรับ หากความเชื่อมโยงนี้ถูกหลงลืมหรือไม่ได้รับความสำคัญ เราจะตกอยู่ในฐานะที่เสี่ยงเป็นอย่างยิ่ง

ความเสี่ยงประการหนึ่งที่ดูจะซึมลึก คือการมองการดำเนินงานของโรงเรียนคาทอลิกเป็นการแข่งขันกับโรงเรียนของรัฐหรือของเอกชน สิ่งนี้เกิดขึ้นเมื่อมีการมองคุณภาพทางวิชาการของโรงเรียนเพียงแต่ในแง่ของมาตรฐานที่ใช้ในการทำผังเปรียบเทียบระหว่างโรงเรียนรัฐกับโรงเรียนเอกชน

โดยหลักการแล้ว ไม่มีโรงเรียนคาทอลิกโรงใดละเลยที่จะประกาศแรงบันดาลใจคริสต์ อย่างไรก็ตาม ในบางกรณีการอ้างอิงดังกล่าวอาจเป็นเพียงในรูปแบบ หรือปรากฎเป็นเพียงกิจกรรมทางการศึกษาในลักษณะคู่ขนาน ที่ไม่ได้ให้ความสำคัญเท่ากับโปรแกรมการเรียนและหลักสูตรโรงเรียน

เราต้องตระหนักว่า คุณภาพการศึกษาและการเอาใจใส่ในการประกาศพระวรสารต้องไปด้วยกัน เป็นเรื่องน่าอันตรายอย่างยิ่งที่จะให้ความสนใจเฉพาะเรื่องคุณภาพการสอนหรือการบริการนักเรียน โดยละเลยต่อการประกาศพระวรสาร

ปัญหานี้ไม่ได้แก้ด้วยการเพิ่มวิชาคริสตศาสตร์ในหลักสูตรการเรียนการสอนเท่านั้น แต่ด้วยการทำให้กระบวนการการจัดการเรียนรู้ได้รับการส่องแสงสว่างจากชีวิตทัศน์คริสต์ และด้วยการส่งเสริมการจัดการศึกษาของตัวบุคคลแบบองค์รวมที่ผสมกลมกลืน ในการนี้จะต้องไม่ลดระดับหรือจำกัดขอบเขตเป็นเพียงทักษะเฉพาะตัวของหมวดวิชาและทักษะทางอาชีพ มิเช่นนั้น จะกลายเป็นเพียงเส้นทางคู่ขนานสองเส้นที่ไม่มาบรรจบกัน ทางเส้นหนึ่งเพื่อการบริรูปหล่อหลอมทางศาสนาและจิตวิญญาณ ที่จัดสรรให้เฉพาะกาล ในกิจกรรมบางอย่าง อาทิ การสอนคำสอน การภาวนา  และทางอีกเส้นหนึ่ง เพื่อความเป็นเลิศทางวิชาด้วยการเรียนการสอนคุณภาพ

เป็นไปได้ว่า โรงเรียนคาทอลิกบางแห่งอาจละเลยที่จะแสดงจุดยืนอัตลักษณ์คาทอลิกของตนอย่างชัดเจน หรือแสดงความทุ่มเทในการบริรูปหล่อหลอมทางศาสนาและการประกาศพระวรสารในระดับที่ตำ่ อย่างไรก็ตาม โรงเรียนคาทอลิกหลายแห่งมีส่วนร่วมในพันธกิจของพระศาสนจักรในระดับเป็นเลิศ โรงเรียนคาทอลิกในปัจจุบันมักจะประกอบไปด้วยนักเรียนและครูที่เจริญชีวิตอยู่ในโลกพหุนิยมและโลกียะนิยม ซึ่งเป็นสังคมที่ความตระหนักต่อพระเจ้ากำลังถดถอยลงเรื่อยๆ และเป็นสังคมที่ความตระหนักในความเป็นส่วนหนึ่งของพระศาสนจักรในระดับวัดกำลังเหือดหายไป หรือการร่วมส่วนอย่างเป็นรูปธรรมในองค์กรพระศาสนจักรก็กำลังจืดจางลงทุกขณะ

แม้แต่ในสถานการณ์ที่โรงเรียนคาทอลิกได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอยู่โดยตลอดก็ตาม เราก็ยังจำเป็นที่จะต้องทำการไตร่ตรองอย่างรอบคอบว่า สถาบันการศึกษาของเราได้รับความนิยมเพียงเพราะคุณภาพการสอน ความพร้อมด้านแหล่งทรัพยากร และอุปกรณ์ใช้สอย ความโอ่อ่าของอาคารสถานที่ เท่านั้นหรือไม่?

ความเป็นจริงที่ว่าคนที่นับถือศาสนาอื่นให้ความนิยมต่อโรงเรียนคาทอลิกนั้น นับเป็นสิ่งที่ดี กระนั้นก็ดี เราต้องใช้วิจารณญานอย่างดี เพื่อป้องกันความกำกวมในความสัมพันธ์ระหว่างอุปสงค์กับอุปทาน ยกตัวอย่างเช่น กรณีที่สภาพระสังฆราชออสเตรเลียได้ให้ข้อสังเกตุว่าครอบครัวจำนวนมากเลือกโรงเรียนคาทอลิกแม้ว่าตนไม่ใช่คาทอลิก ซึ่งทำให้จำนวนโรงเรียนคาทอลิกขยายตัวอย่างมาก บรรดาสังฆราชออสเตรเลียก็ยังใส่ใจต่อความจำเป็นเร่งด่วนที่สถาบันการศึกษาคาทอลิกต้องมีอัตลักษณ์ที่ชัดเจน มิเช่นนั้นจะเสี่ยงต่อการสูญเสียหรือเสื่อมถอยในธรรมชาติเฉพาะของตน โดยการลดความสำคัญของคุณค่าเด่นของตน

ระหว่างคตินิยมลดทอน (Reductionism) แบบเน้นโครงสร้างหน้าที่ หรือการศึกษาแบบองค์รวม (Holistic Education) 

โรงเรียนคาทอลิกทั่วโลกต่างก็มีความห่วงใยร่วมกัน ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นความท้าทายของความท้าทายทั้งหลายเลยทีเดียว กล่าวคือความห่วงใยในกรอบสังคมและเศรษฐกิจของโลกใบเล็กที่เราอาศัยอยู่ อาทิ การที่ทุกอย่างต้องกลับเป็นเพียงเครื่องมือเพื่อเป้าหมายของผลประโยชน์ มาตรฐานของผลประโยชน์ที่กลายเป็นตัวกำหนดการตัดสินใจเลือกต่างๆ การตีค่าเกินควรของประสิทธิผล การมุ่งแต่ความสำเร็จโดยไม่นำพาถึงสิ่งใดๆ สิ่งเหล่านี้ได้ปรากฎว่าเป็นภัยคุกคามที่ใหญ่ที่สุดต่อการส่งเสริมวิธีการที่ให้ความสำคัญต่อความเป็นมนุษย์ ดังนั้นเราจึงพบว่า การศึกษากำลังถูกท้าทายในระดับคุณค่าที่ลึกซึ้งที่สุดของมัน อาทิ ความสำคัญเป็นอันดับต้นของตัวบุคคล คุณค่าของความป็นชุมชน การแสวงหาความดีส่วนรวม การเอาใจใส่ผู้อ่อนแอ ความห่วงใยต่อผู้ด้อยโอกาส ความร่วมมือกัน และความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียว 

โรงเรียนคาทอลิกจึงจำเป็นต้องยืนยันถึงคุณค่าของตัวบุคคลมนุษย์ต่อสังคมที่ให้ความสำคัญต่อปัจเจกนิยมแบบมุ่งแข่งขัน และก่อให้เกิดความไม่ทัดเทียมกัน การให้ความสำคัญต่อตัวบุคคลมนุษย์โน้มน้าวให้เรารู้จักเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น รู้จักเปิดใจต่อการถกปัญหาและการประชุมปรึกษาหารือ ในบรรยายกาศของมิตรภาพและความร่วมมือ

การศึกษาคาทอลิกมุ่งที่จะช่วยสร้างสังคมที่มีความเป็นมนุษย์มากขึ้น ยุติธรรมมากขึ้น และเป็นหนึ่งเดียวกันมากขึ้น ในโลกที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคมครั้งใหญ่และโลกาภิวัฒน์ ซึ่งยังผลให้สถาบันครอบครัวตกในภาวะวิกฤติหนักหน่วง เราจึงกำลังเผชิญกับวัฒนธรรมของการทำให้ว่างเปล่าและการขาดความลึกซึ้งของชีวิตด้านใน ในสถานการณ์เช่นนี้ เรามีความต้องการจำเป็นที่จะกลับมาค้นพบความหมายของชีวิตอีกครั้ง โรงเรียนคาทอลิกจึงควรตอบโจทย์ความท้าทายเหล่านี้โดยอาศัยคุณค่าที่แท้จริงของตน นักการศึกษาคาทอลิกเชื่อว่า ความพยายามทุกอย่างของเราต้องมุ่งไปสู่การพบปะกับพระเยซูเจ้าผู้ทรงชีวิต โดยทั่วไปแล้ว เราต่างก็รับรู้ถึงความพยายามที่จะสร้างความสอดคล้องยึดโยงระหว่างการเจริญความเชื่อกับชีวิตประจำวัน เฉพาะอย่างยิ่งในที่ๆ มีความเปราะบางทางสังคมในระดับสูง

เราสามารถสรุปเค้าโครงของลักษณะร่วมบางประการที่ปรากฎอยู่โดยทั่วไปในอัตลักษณ์โรงเรียนคาทอลิกดังต่อไปนี้
  • บรรยายกาศที่ชัดเจนของความมีชีวิตชีวา ชีวิตความเชื่อที่ชึมซาบอยู่ในตัวปริบุคคล
  • ความตระหนักในความยุติธรรมในสังคมและการแสวงหาความดีส่วนรวม การสร้างสังคมแห่งเอกภาพและภราดรภาพ
  • การมีส่วนร่วมของนักเรียนในกิจกรรมนอกโรงเรียน การเยี่ยมเยือนเพื่อเกื้อกูลสถาบันที่ต้องการความช่วยเหลือ การจุนเจือชุมชนที่ขัดสน การรณรงค์เพื่อความสามัคคี กิจกรรมเหล่านี้เป็นการยึดโยงหลักสูตรการศึกษากับการบริการสนับสนุน
  • ความตระหนักแบบคริสต์ต่อความเป็นชุมชน บรรยายกาศครอบครัว และการยินดีต้อนรับ
  • การมุ่งพัฒนาปรับปรุงคุณภาพของความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
  • ความสำคัญของการรวมพลังระหว่างครอบครัว โรงเรียน และนักเรียน เพื่อเอาชนะปัญหาอุปสรรค
  • ความตระหนักว่าการศึกษาไม่ได้เป็นเพียงความรู้ แต่เป็นมวลประสพการณ์และการปฏิบัติ การรู้คือการรู้ว่าต้องปฏิบัติอย่างไร

ในการเผชิญกับสังคมที่แบ่งแยก เป็นปัจเจกนิยม และแล้งน้ำใจ การศึกษาจึงต้องมุ่งสู่การบริรูปหล่อหลอมแบบองค์รวมของตัวบุคคลมนุษย์ ประสพการณ์การเรียนรู้จึงควรมีลักษณะของการเปิดโอกาศที่หลากหลายสำหรับเยาวชน เพื่อทำให้พวกเขาเติบโตและพัฒนาทักษะและพรสวรรค์ของตน โรงเรียนควรให้ความเอาใจใส่ต่อมิติด้านสติปัญญา อารมณ์ สังคม วิชาชีพ จริยธรรม และจิตวิญญาณ นักเรียนแต่ละคนควรได้รับการส่งเสริมให้พัฒนาพรสวรรค์ของตนในบรรยายกาศของความร่วมมือและความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน

การใส่ใจต่อตัวบุคคลมนุษย์มีความยึดโยงกับอัตลักษณ์ของโรงเรียนคาทอลิก เพราะเหตุว่า การให้ความสำคัญต่อตัวบุคคลมนุษย์ย่อมสะท้อนถึงการเอาพระบุคคลของพระเยซูคริสตเจ้าเป็นศูนย์กลางนั่นเอง ความเป็นมนุษย์ของพระเยซูเจ้าจึงกลับเป็นจุดอ้างอิงของทุกอย่างที่เป็นมนุษย์ หัวใจของอัตลักษณ์โรงเรียนคาทอลิกจึงอยู่ที่พระบุคคลของพระเยซูคริสตเจ้า

เราเชื่อมั่นว่า หัวใจของการศึกษาคาทอลิกคือพระบุคคลของพระเยซูคริสตเจ้า ทุกอย่างที่เกิดขึ้นในโรงเรียนคาทอลิกควรนำไปสู่การพบปะกับองค์พระเยซูเจ้า พระคริสต์ผู้ทรงพระชนม์

การเป็นประจักษ์พยานคือการประกาศพระวรสาร

โรงเรียนคาทอลิกหลายแห่งเปิดดำเนินการในพื้นที่ที่ประสบปัญหาความยุ่งยาก นอกจากมีคาทอลิกจำนวนน้อยแล้ว ยังมีปัญหาเสรีภาพการแสดงออกด้วย สถานการณ์ในภูมิภาคแบบนี้ช่วยให้เราเข้าใจอัตลักษณ์ในความสัมพันธ์กับกิจกรรมธรรมทูต

ในสถานการณ์เช่นนี้ มีความจำเป็นต้องหลีกเลี่ยงการถูกกล่าวโทษเรื่องการโน้มน้าวให้เปลี่ยนศาสนา อย่างไรก็ดี ความทุ่มเทในการจัดการศึกษายังคงเป็นส่วนหนึ่งของพันธกิจการประกาศพระวรสารของพระศาสนจักร วิธีปฏิบัติที่ดีที่สุดอาจจะไม่ใช่การประกาศ แต่เป็นการเป็นประจักษ์พยาน ดังนั้นการเป็นประจักษ์พยานคือการประกาศพระวรสาร

ในสถานการณ์ดังกล่าว โรงเรียนคาทอลิกส่วนใหญ่มีนักเรียนคาทอลิกอยู่จำนวนน้อย และครูคาทอลิกก็มีจำนวนน้อยเช่นกัน พวกเขาร่วมงานกับครูที่นับถือศาสนาอื่น แบ่งปันมิใช่เพียงแต่ในเรื่องหลักสูตร แต่ในเรื่องความสนใจในการศึกษาด้วย และสถานการณ์เช่นนี้ไม่ได้ถูกมองเฉพาะในแง่ที่เป็นปัญหาแต่เพียงแง่เดียว แต่สามารถมองในแง่ที่เป็นโอกาศสำหรับการเสวนา การพบปะแบ่งปัน และการทุ่มเทเพื่อความดีส่วนรวมเช่นกัน มีอะไรเกิดขึ้น? ทันทีที่เข้ามาในโรงเรียนคาทอลิก ผู้คนสามารถสัมผัสได้ถึงความแตกต่างจากโรงเรียนอื่นทั่วไป ความแตกต่างนี้ไม่ใช่อยู่ตรงประเด็นว่าโรงเรียนมีแหล่งทรัพยากรมากมาย หรือโรงเรียนมีเสน่ห์น่าสนใจ ทว่าอยู่ตรงประเด็นว่า โรงเรียนมีบรรยายกาศของการประทับอยู่ของพระเจ้า 

โรงเรียนคาทอลิกเหล่านี้มีบรรยากาศของความจริงจัง ซึ่งสะท้อนอยู่ในความมีระเบียบและความเรียบง่าย ตรงข้ามกับความไร้ระเบียบและสุรุ่ยสุร่ายของสังคมบริโภคนิยม ความเคารพซึ่งกันและกัน ระหว่างนักเรียน ครู และบุคลากรสนับสนุน ทั้งใหม่และเก่า สิ่งเหล่านี้แสดงถึงการที่โรงเรียนรับใช้ประชากรของพระเจ้าและมนุษยชาติในความพยายามที่จะแสวงหาสัจธรรมวิสัยทัศน์อันศักดิ์สิทธิ์ของโรงเรียนคาทอลิกเช่นนี้ควรแก่การรับรู้ เจริญชีวิต และแบ่งปันในหมู่ประชาคมโรงเรียนโดยถ้วนหน้า ขณะเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ในนโยบายรัฐ อัตลักษณ์โรงเรียนคาทอลิกยิ่งต้องแน่วแน่มั่นคง การเสวนาคือเรื่องจำเป็น และการเป็นประจักษ์พยานโดยการเจริญชีวิตวิถีคริสต์คือหน้าที่สำคัญ 

โรงเรียนคาทอลิกเหล่านี้มีลักษณะเด่นดังต่อไปนี้:
  • การส่งเสริมความเคารพต่ออัตลักษณ์ของผู้อื่น 
  • ความใส่ใจเป็นพิเศษในมิติทางสติปัญญา ศีลธรรม และจิตวิญญาณ
  • การรับนักเรียนมีลัษณะเปิดกว้างสำหรับทุกคน
  • การส่งเสริมความร่วมมือกับครอบครัวของนักเรียน
  • การเปิดกว้างที่จะร่วมมือกับองค์กร สมาคม กิจกรรมเชิงการศึกษา
  • การมีกลุ่มครูที่ทุ่มเทอุทิศตน

แม้ในสถานการณ์ที่ยากลำบากเช่นนี้ โรงเรียนคาทอลิกก็มุ่งมั่นที่จะจัดการศึกษาคุณภาพให้ดียิ่งกว่าโรงเรียนรัฐและเอกชนอื่นๆ อย่างไรก็ดี โรงเรียนให้ความสำคัญอันดับต้นต่อพันธกิจการประกาศพระ
วรสาร

ฆราวาส วิกฤติหรือโอกาส?

พันธกิจกับอัตลักษณ์เป็นสิ่งควบคู่กัน พันธกิจเป็นวิธีแสดงออกถึงอัตลักษณ์ของตน พันธกิจถูกมอบหมายให้ใคร? อันดับแรกคือผู้บริหาร อันดับต่อมา บุคลากร โดยเฉพาะครู อย่างไรก็ตาม ได้มีการเปลี่ยนแปลงที่ลึกซึ้งเกิดขึ้น ในวันนี้ เพราะวิกฤติกระแสเรียกนักบวชพระสงฆ์ กลุ่มผู้บริหารมีจำนวนฆราวาสยิ่งทียิ่งมากขึ้นอย่างกว้างขวาง

มีความกังวลเกี่ยวกับการขาดแคลนพระสงฆ์และนักบวชว่า จะทำให้อัตลักษณ์คาทอลิกและพรพิเศษของคณะขาดหายไปในที่สุด มีการเสนอทางออกด้วยการเชื้อเชิญให้ฆราวาสเข้ามาร่วมส่วนมากขึ้น รับรู้มากขึ้นถึงอัตลักษณ์คาทอลิกและพรพิเศษของสถาบัน นั่นหมายความว่า จำเป็นต้องมีการบริรูปหล่อหลอมที่เข้มข้น มีเวลาในการแบ่งปันในด้านจิตวิถี มีการเดินทางฝ่ายจิตวิญญาณร่วมกัน ทว่าสิ่งเหล่านี้ยังไม่เป็นไปอย่างเป็นรูปธรรมในชีวิตจริง การที่จะรักษาชื่อเสียงและการยอมรับของสังคมเอาไว้ได้ โรงเรียนจำเป็นที่จะต้องให้ความสำคัญต่อการมีส่วนร่วมของฆราวาส เนื่องด้วยพวกเขาคือคนส่วนใหญ่ของบุคลากรผู้สอนโรงเรียน มีโรงเรียนที่มองเห็นวิกฤติเป็นโอกาส ในการตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาฆราวาส ประสพการณ์ของโรงเรียนเหล่านี้ชี้ให้เห็นว่า ยังมีหนทางที่จะก้าวต่อไปของโรงเรียนคาทอลิก มีตัวอย่างของการมีส่วนร่วมและการร่วมมือกันอย่างแท้จริงของฆราวาสกับพระสงฆ์นักบวช ฆราวาสตระหนักรู้ในพรพิเศษของผู้ก่อตั้งสถาบัน รู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของพันธกิจโรงเรียน และรับรู้ว่า บทบาทหน้าที่รับผิดชอบของตนได้รับการยอบรับว่าเป็นพระพร เป็นของประทาน

ชุมชน: วิมานในอากาศหรือสิ่งที่เราพยายามสร้าง

หากการศึกษาคาทอลิกมีภารกิจต้องพัฒนาตัวบุคคลมนุษย์แบบองค์รวม ความเป็นชุมชนก็ย่อมเป็นสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยที่สุดการศึกษาแบบคริสต์กล่าวถึงประเด็นนี้อย่างชัดเจนว่า ขณะที่โรงเรียนคาทอลิกมุ่งสู่เป้าประสงค์ทางวัฒนธรรมเช่นเดียวกันกับโรงเรียนอื่นๆ ทุกโรง ลักษณะเด่นของโรงเรียนคาทอลิกคือการสร้างชุมชนโรงเรียนที่มีบรรยากาศซึ่งซึมซาบไปด้วยจิตตารมณ์พระวรสารแห่งอิสรภาพและความรัก

เมื่อมองในด้านการจัดองค์กร วิถีชีวิต การบริหารจัดการ และกรอบทางการศึกษาและความสัมพันธ์ โรงเรียนคาทอลิกให้คุณค่าต่อความเป็นชุมชน ความเป็นชุมชนเป็นการตอบโจทย์ต่อความท้าทายของปัจเจกนิยม และเป็นลักษณะเด่นของอัตลักษณ์โรงเรียน

โรงเรียนคาทอลิกพึงให้ความสนใจต่อรูปแบบนี้เป็นอย่างยิ่ง ความเป็นชุมชนถือเป็นคุณค่าที่โรงเรียนต้องประกาศอย่างชัดเจน และเป็นจุดมุ่งหมายหลักของทุกๆ โรงเรียน

เมื่อต้องเผชิญกับปัจเจกนิยมที่กัดกร่อนสังคมของเรา เป็นสิ่งจำเป็นยิ่งที่ยิ่งมากขึ้น ที่โรงเรียนคาทอลิกจะต้องเป็นชุมชนของบุคคลที่ได้รับการดลบันดาลจากองค์พระจิตเจ้าอย่างแท้จริง 

กระนั้นก็ตาม ยังมีความเข้าใจที่แตกต่างกันเกี่ยวกับความเป็นชุมชน เราควรทำความเข้าใจกับความกำกวมบางประการ การอยู่ด้วยเพียงเพื่อสานผลประโยชน์ร่วมกันเท่านั้น มิอาจทำให้โรงเรียนเป็นชุมชนได้ ในกรณีดังกล่าว ผลลัพธ์ที่ปรากฎเป็นเพียงการสนองความต้องการของแต่ละคนอย่างผิวเผน มีเพียงข้อกำหนดบทบาทหน้าที่ วิธีปฏิบัติตน เพื่อเจริญชีวิตอยู่ด้วยกันอย่างดีเท่านั้น ดังนั้น ในกรณีเช่นนี้ จึงขาดการแบ่งปันกันอย่างลึกซึ้ง

ในการดำเนินงานทางการศึกษา ความคิดเกี่ยวกับความเป็นชุมชนตามขนบประเพณีคาทอลิกของเรา ยังดำรงอยู่เสมอมา แต่ทว่า อาจมีความเข้าใจไม่ถูกต้องเกี่ยวกับความเป็นชุมชนนี้ ความเป็นชุมชนไม่ได้เป็นเพียงการสานผลประโยชน์ หรือการทำตามบทบาทหน้าที่ต่างๆ ของแต่ละคน โดยที่แต่ละคนคอยแต่แสวงหาและปกป้องสิทธิพิเศษของตนเองเท่านั้น 

ถ้าความเป็นชุมชนไม่ได้อยู่ที่แค่การปฏิบัติตนตามกฎของบ้านหรือเป็นเพียงการอยู่ในที่ปลอดภัย บ่อยครั้งผู้ปกครองเลือกโรงเรียนคาทอลิกเพื่อเป็นหลักประกันถึงสิ่งแวดล้อมที่สงบ ปกป้องจากอันตรายของสังคม ให้ความจริงจัง มีคุณภาพ หรือเพื่อได้โอกาสความสำเร็จที่ดีกว่า สิ่งเหล่านี้คือความต้องการของผู้ปกครอง ซึ่งเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ อย่างไรก็ตาม ประเด็นที่สำคัญกว่าคือ ความเป็นชุมชนมีคุณค่าตรงที่มันเป็นประสพการณ์ที่มีชีวิต และเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อสมาชิกร่วมกันสร้างชุมชน ร่วมกันตัดสินใจ และร่วมกันทุ่มเทอุทิศตน ความเข้าใจเรื่องความเป็นชุมชนทางการศึกษาในโรงเรียนคาทอลิกเป็นเรื่องที่สำคัญมากๆ ความเป็นชุมชนถือได้ว่าเป็นมาตรวัดความสำเร็จของโรงเรียนคาทอลิก ที่จริงแล้ว ในสถาบันการศึกษาที่ถูกออกแบบในลักษณะนี้เท่านั้น ที่นักเรียนจะสามารถมีประสพการณ์ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม เอื้อต่อการเรียนรู้ เอื้อต่อความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และเอื้อต่อการมีส่วนร่วมของสมาชิกทุกคน อุดมการณ์ดังกล่าวไม่ควรเพียงแต่ปรากฎอยู่ในจุดมุ่งหมายทางการศึกษาของโรงเรียนเท่านั้น แต่ควรอยู่ในความตระหนักของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง ชุมชนท้องถิ่น และชุมชนพระศาสนจักรด้วย

ก่อนอื่นใด โรงเรียนคาทอลิกได้รับกระแสเรียกให้เป็นชุมชนแห่งความเชื่อและชีวิต เช่นนี้แล้ว โรงเรียนคาทอลิกจึงเป็นเสมือนยาแก้อาการปัจเจกนิยมและบริโภคนิยมของสังคม บรรยากาศเฉพาะอันโดดเด่นของโรงเรียนคาทอลิกคือบรรยากาศครอบครัว สิ่งนี้เป็นความจริง แม้ในโรงเรียนที่มีนักเรียนคาทอลิกน้อย: การสร้างชุมชนเป็นหน้าที่ของทุกๆ คน

มีรายงานจากหลายแห่งถึงการฟื้นฟูในด้านความตระหนักในอัตลักษณ์โรงเรียนคาทอลิก ซึ่งดำเนินการในรูปแบบของการฝึกอบรมครู และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ด้วยการสร้างชุมชนวิถีคริสต์ที่แท้จริง ทั้งผู้บริหารและผู้ปกครองต้องมีส่วนร่วมในการสร้างชุมชนการศึกษา รวมทั้งต้องทำให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการสร้างชุมชนการศึกษาเช่นกัน นอกจากนี้ ชุมชนการศึกษาจะต้องมีบรรยากาศครอบครัว ชุมชนดังกล่าวเป็นชุมชนการศึกษาที่มุ่งตอบสนองความต้องการจำเป็นของทุกคน โดยเฉพาะผู้ที่มีความต้องการมากที่สุด เป็นชุมชนที่มุ่งหาวิธีที่จะช่วยเหลือครอบครัวของนักเรียนที่ยากจน เป็นชุมชนที่เกิดขึ้นด้วยความใฝ่ใจรักต่อการศึกษา และการแบ่งปันคุณค่าเดียวกันอย่างลึกซึ้ง เป็นชุมชนที่ต้อนรับทุกคน โดยไม่กีดกันคนจนและผู้ขัดสน เป็นชุมชนที่เสริมสร้างและพัฒนาโดยไม่จำกัดอยู่ที่บุคลากรผู้สอนและนักเรียนเท่านั้น แต่รวมถึงครอบครัวของนักเรียนและสังคมท้องถิ่นด้วย

ความใฝ่ใจรักในงานของตนเป็นสัญญาณที่ชัดเจนของความทุ่มเทอุทิศตนให้กับชุมชน สิ่งนี้เองหล่อเลี้ยงความตระหนักในความเป็นเจ้าของร่วมกัน การร่วมกันทำงานแบบบูรณาการกัน การเคารพในความแตกต่าง การต้อนรับทุกคน และการเปิดใจกว้างอย่างจริงใจต่อกันและกัน

กล่าวได้ว่า ความเป็นชุมชนเป็นทั้งเป้าหมายและเครื่องมือของการศึกษา จุดมุ่งหมายของการศึกษาคือการสร้างความเป็นชุมชนในโรงเรียน รวมทั้งการสร้างประชาสังคมที่กว้างขึ้น โดยอาศัยชุมชนโรงเรียน
                     

2. การท้าทายเรื่องการศึกษาแบบองค์รวม

สังคมร่วมสมัยกำลังประสบปัญหาต่างๆ มากมาย ซึ่งก่อให้เกิดภาวะที่เราเรียกว่า "ภาวะฉุกเฉินทางการศึกษา" ภาวะดังกล่าวนำมาซึ่งความท้าทายสำหรับสถาบันคาทอลิกที่จะช่วยเสริมสร้างคุณค่าทางจริยธรรมและทางมนุษยวิทยาในมโนธรรมและวัฒนธรรมของปัจเจกบุคคล ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการสร้างสังคมที่มีพื้นฐานอยู่บนภราดรภาพและความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน

โรงเรียนคาทอลิกในฐานะที่เป็นที่ๆ นักเรียนเรียนรู้การดำเนินชีวิต เติบโตด้านวัฒนธรรม รับการฝึกอบรมวิชาชีพ และมีส่วนร่วมในการแสวงหาความดีของส่วนรวม โรงเรียนจัดโอกาสให้นักเรียนทำความเข้าใจสังคมและมนุษยชาติ

มีลักษณะเด่นบางประการที่โรงเรียนคาทอลิกต้องมี ได้แก่
  • กความเคารพต่อศักดิ์ศรีและความมีเอกลักษณ์ของแต่ละบุคคล
  • โอกาสต่างๆ ที่จะเติบโตและเรียนรู้
  • การให้ความสำคัญอย่างสมดุลย์ต่อมิติต่างๆ ของการเรียนรู้ (อาทิ ด้านวิชาชีพ สติปัญญา ความรู้สึก สังคม จริยธรรม และจิตวิญญาน)
  • การเอื้อต่อการพัฒนาพรสวรรค์ต่างๆ ในบรรยายกาศของความร่วมมือและความเป็นหนึ่ง
  • ความเคารพต่อความคิดของแต่ละคน การเปิดกว้างต่อการเสาวนา ความสามารถในการปฏิสัมพันธ์และทำงานร่วมกัน ในจิตตารมณ์ของอิสรภาพและความห่วงใยกัน
ลักษณะเด่นเหล่านี้ย้ำให้เห็นความสำคัญของวิธีการพัฒนาบุคคลแบบองค์รวม นี่คือการศึกษา - ทั้งในรูปแบบหรือนอกรูปแบบ - ที่ส่งเสริมให้นักเรียนพัฒนาคุณค่าและคุณธรรมต่างๆ ซึ่งจำเป็นสำหรับชีวิตที่มีความสุขและมีความหมาย

การสอนที่เป็นเครื่องมือของการศึกษา

โรงเรียนคาทอลิกโฟกัสในสิ่งที่นักเรียนเรียนและวิธีที่นักเรียนเรียน โฟกัสในวิธีการสอนที่หล่อเลี้ยงคุณค่าสำคัญได้แก่ ความชื่นชม ความไว้เนื้อเชื่อใจ ความเคารพ และมิตรภาพ โดยพยายามขจัดปัจเจกนิยม ความเป็นปรปักษ์ และความเย็นชาต่อกัน ดังนั้นโรงเรียนคาทอลิกจึงพยายามจัดโปรแกรมการเรียนที่เปิดโอกาสให้นักเรียนเติบโตทั้งแบบส่วนบุคคลและแบบเป็นกลุ่มด้วยกัน เป้าหมายไม่ได้อยู่ที่การถ่ายทอดสาระสนเทศและความรู้เท่านั้น แต่อยู่ที่การถ่ายทอดคุณค่าและหลักการด้วย เราไม่ได้มองเฉพาะผลสัมฤทธิ์การเรียนที่ได้ แต่วิธีการที่เราใช้ด้วย

ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง

การเรียนรู้ไม่ได้เป็นเพียงการรวบรวมเนื้อหา แต่เป็นโอกาสและความทุ่มเทในการพัฒนาตน และแสวงความดีของส่วนรวม 

เราจึงต้องคำนึงถึงความสัมพันธ์ระหว่างการเรียนรู้กับการพัฒนาตนเองและสังคม 

องค์ประกอบสำคัญประการหนึ่งของโรงเรียนคาทอลิกคือการให้ความสำคัญต่อปัจเจกบุคคลและการรับใช้ผู้อื่น คำว่าพัฒนามีความเชื่อมโยงกับความเป็นโรงเรียนคาทอลิก โดยเปิดโอกาสให้ตัวบุคคลเติบโตในมิติด้านในและแบบองค์รวม คำดังกล่าวแสดงออกถึงความจริงที่ว่า นักเรียนมีความต้องการจำเป็นที่จะได้รับมวลประสพการณ์ที่นำไปสู่การพัฒนาในมิติด้านสติปัญญา ความรู้สึก สังคม จริยธรรม จิตวิญญาณ และวิชาชีพ โรงเรียนต้องเอาใจใส่อย่างสม่ำเสมอในการพัฒนาความเป็นมนุษย์ การพัฒนาตัวบุคคล การพัฒนาบุคลิกภาพ และการบริรูปหล่อหลอมความเชื่อ

ขณะเดียวกัน การพัฒนาก็ต้องยึดโยงกับการรับใช้ด้วย นี่เป็นการเดินทางหยั่งลึกในตนเอง โดยขณะเดียวกัน ก็ยึดโยงกับบุคคลอื่นด้วย โดยถือตามพระแบบฉบับของพระคริสต์ผู้ทรงเป็นผู้นำที่เป็นผู้รับใช้ ในการนี้ เราจึงสามารถกลับเป็นมนุษย์แท้ ที่เจริญความเชื่อในชีวิตประจำวัน 

การพัฒนามีมิติสำคัญ 3 มิติ:
  • การพัฒนาคือการเรียนรู้และการสร้างโอกาสแห่งการเรียนรู้สำหรับทุกคน
  • การพัฒนาต้องยึดโยงกับสภาพแวดล้อมต่างๆ ที่ชุมชนเผชิญอยู่ และที่ประชาคมพระศาสนจักรต่างๆ ดำเนินการอยู่
  • การพัฒนาทางวิชาชีพและการบริรูปหล่อหลอมบุคลากร


มีความจำเป็นที่จะต้องสร้างสภาพแวดล้อมแห่งการเรียนรู้ซึ่งนำไปสู่การพัฒนาการบริรูปหล่อหลอมผู้เรียนอย่างแท้จริง สิ่งนี้เกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อการเรียนรู้ยึดโยงกับการทำงานร่วมกับผู้อื่น ดังนั้นเราจึงจำเป็นต้องเชื่อมโยงโรงเรียนกับวัด สังฆมณฑล และสถาบันอื่นๆ



การสอนวิชาคริสตศาสตร์

ในสถานการณ์ที่โรงเรียนคาทอลิกได้รับความนิยมจากผู้ปกครองและสามารถจัดการศึกษาให้กับนักเรียนจากภูมิหลังที่หลากหลาย ทั้งด้านความสามารถและความเชื่อ ในโรงเรียนที่นักเรียนส่วนใหญ่ไม่ใช่คาทอลิก บางแห่งอนุญาตให้นักเรียนที่ไม่ใช่คาทอลิกไม่ต้องเรียนวิชาคริสตศาสตร์ บางแห่งคาดหวังให้นักเรียนทุกคนร่วมในการเรียนวิชาคริสตศาสตร์ หรือได้รับการอบรมด้านความเชื่อ พิธีกรรม และคุณค่าคาทอลิก ที่บูรณาการในหลักสูตร บางแห่งจัดให้นักเรียนเลือกเรียนวิชาคริสตศาสตร์ หรือจริยศึกษา คุณค่าศึกษาด้านภารดรภาพ ความรักต่อธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ในสถานการณ์ที่นักเรียนคาทอลิกบางส่วนไม่สามารถเข้าเรียนในโรงเรียนคาทอลิกเพราะข้อจำกัดทางเศรษฐกิจหรือข้อจำกัดอื่นๆ ในบางกรณี แม้มีความพยายามที่จะช่วยเหลือพวกเขาแล้วก็ตาม นี่เป็นสภาพการณ์ที่วัดและชุมชนคาทอลิกต้องยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือให้นักเรียนที่ยากจนเหล่านี้ได้รับการอบรมด้านศาสนาและคำสอน ซึ่งอาจทำในรูปแบบของการสอนหลังชั่วโมงเรียน วันสุดสัปดาห์ หรือโครงการระดับสังฆมณฑล สภาพการณ์เช่นนี้ยิ่งเน้นย้ำถึงความสำคัญของการร่วมมือกันระหว่างสถาบันและองค์กรต่างๆ เพื่อค้ำจุนนักเรียนที่ต้องการความช่วยเหลือเหล่านี้

สำหรับโรงเรียนคาทอลิกที่ตั้งในพื้นที่ขาดแคลน จำเป็นที่ต้องสร้างโอกาสแห่งการเรียนรู้โดยยึดโยงกับเครือข่าย มิใช่โดยทำงานอย่างโดดเดี่ยว เพื่อทำให้พันธกิจโรงเรียนคาทอลิกบรรลุผล พันธกิจนี้มีผลกระทบต่อคนแต่ละคนและต่อสังคมโดยกว้าง คำว่ายึดโยงหมายถึงความพร้อมที่จะทำ มีความริเริ่ม ความเต็มใจที่จะจัดระบบโครงสร้าง สร้างนวัตกรรม ค้นหา หรือประยุกต์วิธีการใหม่ๆ เช่น การสอนแบบสหวิทยาการ

โรงเรียนคาทอลิกให้ความสำคัญต่อการทำให้บุคลากรฆราวาสเข้ามามีส่วนร่วมในการรักษาอัตลักษณ์โรงเรียนคาทอลิก พร้อมๆ กับพันธกิจการประกาศพระวรสาร มีความตระหนักชัดว่า เพื่อทำให้สิ่งนี้เกิดขึ้นจริง จำเป็นที่ต้องมีการยึดโยงที่เหนียวแน่น ความร่วมมือที่หนักแน่น ในหมู่สถาบันและองค์กรต่างๆ เพื่อต่อกรกับความท้าทายต่างๆ ที่การศึกษาของพระศาสนจักรกำลังเผชิญอยู่ ในส่วนของครอบครัวคาทอลิกที่ประสบความยากลำบากในการส่งบุตรหลานเข้าเรียนในโรงเรียนคาทอลิก ความร่วมมือในหมู่สถาบันและองค์กรต่างๆ เพื่อช่วยเหลือครอบครัวเหล่านี้ยิ่งเป็นเรื่องจำเป็น


3. ความท้าทายเรื่องคนยากจนและความยากจนในรูปแบบใหม่

โรงเรียนคาทอลิกทั่วโลกต่างก็เน้นความสำคัญของการให้ความเอาใจใส่ต่อคนยากจน ประเด็นที่เน้นคือ: ความห่วงใยเรื่องความยากจนทางวัตถุและการขาดแคลนทรัพยากรเพื่อใช้ชีวิตที่มีศักดิ์ศรี การขาดแคลนทรัพยากรเพื่อใช้ในการศึกษา นอกจากนี้ มีการเน้นด้วยเช่นกันเกี่ยวกับความห่วงใยต่อคนพิการ และคนที่มีความต้องการพิเศษทางการศึกษา ซึ่งจำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือพิเศษ

ความห่วงใยต่อสถานะการณ์ต่างๆ ของความยากจนได้กลายเป็นประเด็นที่ต้องจัดความสำคัญเป็นอันดับต้นโดยประชาคมทั้งหมด กล่าวคือ โดยชุมชนทางวิชาชีพและทางการศึกษา โดยชุมชนท้องถิ่น และโดยชุมชนพระศาสนจักร





มิใช่ด้วยอาหารเท่านั้น

อะไรคือความยากจน? บางทีเราอาจไม่ได้ใส่ใจในคำถามอันนี้อย่างจริงจัง เพราะบ่อยครั้ง เราเน้นแต่เรื่องการขาดเงิน เรายังมักใช้การขาดเงินเป็นข้อแก้ตัวที่ไม่ได้รับฟังเสียงร้องของคนยากจนและความทุกข์ของคนที่สูญเสียศักด์ศรีเพราะตกงาน 

ความแร้นแค้นกำลังขยายตัวในหมู่ประชากรโลก มันก่อให้เกิดการขาดแคลนปัจจัยในการดำรงชีวิต แต่มิใช่เพียงเท่านี้ นอกเหนือจากความหวั่นวิตกที่ก่อขึ้นด้วยสถานะการณ์อยุติธรรมที่กำลังคุกคามอยู่นี้ ยังมีรูปแบบอื่นของความยากจนที่ควรแก่การทำความเข้าใจ เรื่องนี้ไม่เกี่ยวข้องกับความต่างของค่าแรง ระดับรายได้ขั้นตำ่ หรือมาตรวัดความยากจน ทว่ามีมิติอื่นของความยากจนของมนุษย์ที่ปรากฎขึ้นมา กล่าวคือ การลดทอนของคุณภาพทางจิตวิญญาณของชีวิต ในวันนี้เราใช้คำว่ารูปแบบใหม่ของความยากจนเพื่ออธิบายถึงปรากฎการณ์ซับซ้อนซึ่งครอบคลุมถึงลักษณะความต้องการจำเป็นที่หลากหลาย ไม่เพียงแต่ความต้องการจำเป็นปฐมภูมิที่เกี่ยวข้องกับการมีสิ่งจำเป็นสำหรับความอยู่รอด ที่จริงแล้ว ยังมีความต้องการจำเป็นอื่นๆ อาทิ สุขภาพอนามัย สวัสดิการ การศึกษา ยิ่งไปกว่านั้น มนุษย์ยังมีความต้องการจำเป็นในมิติของความสัมพันธ์ วัฒนธรรม และจิตวิญญาณ มิติเหล่านี้ยึดโยงกับวิกฤติของสายสัมพันธ์ของชุมชน กับการกัดกร่อนของความสัมพันธ์แห่งความรักระหว่างบุคคล กับความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน หรือกับการกีดกันทางสังคม ท้ายที่สุดแล้ว ยังมีความต้องการจำเป็นที่จะหาความหมายของชีวิตด้วย

ระดับรายได้นับเป็นดัชนีชี้วัดหลักของความยากจน แต่การดูเพียงประเด็นนี้เท่านั้นไม่น่าจะเพียงพอ ยังมีความยากจนชนิดอื่นที่เราต้องห่วงใยคำนึงถึง ความท้าทายจึงมาในรูปแบบใหม่ของความยากจนด้วย

ความห่วงใยในรูปแบบของความยากจนทั้งแบบเก่าและแบบใหม่ นั่นคือทั้งทางวัตถุและทางจิตวิญญาณ นับเป็นลักษณะพื้นฐานของอัตลักษณ์โรงเรียนคาทอลิก เป็นเรื่องภาคบังคับสำหรับโรงเรียนคาทอลิกที่มิอาจเพิกเฉยได้ ทั้งนี้ เพื่อรักษาสารัตถะของความเป็นคาทอลิก

โรงเรียนของเราพยายามที่จะจัดการศึกษาคุณภาพที่ครอบคลุมมิติทั้งหมดของตัวบุคคลมนุษย์ โดยปราศจากการกีดกันทางสังคม แต่โฟกัสที่คนยากจนที่สุด

เอกสารของคณะซาเลเซียนกล่าวว่าโรงเรียนของเราต้องทุ่มเทอุทิศตนแก่คนยากจน ทำให้การดำรงอยู่ของโรงเรียนคาทอลิกเป็นดังประกาศกในวันนี้ความทุ่มเทดังกล่าวต้องคำนึงถึงรูปแบบหลากหลายของความยากจน มิเพียงแต่ด้านวัตถุเท่านั้นนับเป็นประเด็นภาคบังคับสำหรับชุมชนการศึกษาที่ต้องทำความเข้าใจว่า อะไรคือการเป็นโรงเรียนคาทอลิกอย่างแท้จริง

โลกียะนิยม

โลกียะนิยมเป็นแหล่งเพาะพันธ์ของความยากจนฝ่ายจิตวิญญาณที่กำลังแพร่ขยายอย่างรวดเร็ว ขณะที่ส่วนใหญ่ของโลกกำลังเผชิญกับภัยคุกคามของมูลฐานนิยม (fundamentalism) ที่กำลังขยายตัวครั้งสำคัญ สัมพัทธ์นิยม (relativism) ก็กำลังงอกเงยขึ้นในประเทศคริสต์ดั้งเดิม ที่กำลังผุกร่อนด้วยการสูญเสียมิติของความศักดิ์สิทธิ์ ในวัฒนธรรมร่วมสมัยและในความคิดทั่วไปของผู้คน การมีอยู่ของพระเจ้ายิ่งทียิ่งเลือนลาง ชีวิตประจำวันถูกครอบงำด้วยความรู้สึกว่าตนเท่านั้นสำคัญ โดยทำให้คุณค่าคริสต์ไร้ความหมาย คุณค่าเหล่านี้ถูกจำกัดอยู่ในขอบเขตของเรื่องส่วนตัวเท่านั้น หรือถูกมองเป็นเพียงสิ่งคงค้างของวัยเด็ก หรือบางครั้งก็ถูกเพิกเฉยไม่นำพาโดยจงใจ  พหุนิยมทางวัฒนธรรมและศาสนาที่แพร่กระจายได้ก่อเกิดสัมพัทธ์นิยม ศาสนาคาทอลิกได้สูญเสียความน่าเลื่อมใสในสภาพแวดล้อมที่ชิงดีชิงเด่นเพิ่มมากขึ้น ความเป็นปรปักษ์มิได้เกิดขึ้นในหมู่ศาสนิกของศาสนาอื่น หากแต่เกิดขึ้นในหมู่ขบวนการและกลุ่มคนที่มีอิทธิพลต่อชีวิตของผู้คน โดยการนำเสนอความหมายและค่านิยมใหม่ ค่านิยมเหล่านี้ได้แก่บริโภคนิยม ชื่อเสียง หรือการแสวงหาความสำเร็จส่วนบุคคลไม่ว่าโดยวิธีใด สิ่งเหล่านี้ได้แปรเปลี่ยนความเชื่อให้กลับกลายเป็นเรื่องส่วนตัว เรื่องซ่อนเร้น ที่ไม่ต้องแบ่งปันหรือกล่าวถึงในวงสังคม

ในบริบททางวัฒนธรรมเช่นนี้ การศึกษาจึงปรากฎเป็นประเด็นเร่งด่วน ดังนั้นหน้าที่ของโรงเรียนคาทอลิกคือการเข้าถึงจิตใจมนุษย์ และพัฒนาความสามารถในการจุดประเด็นการตั้งคำถามต่อความหมายของชีวิตและความเป็นจริง ซึ่งกำลังอันตรธานไปจากการรับรู้ของผู้คน

โดยอาศัยกิจกรรมทางการศึกษาของโรงเรียนคาทอลิก เราจะนำเสนอปัญหาเกี่ยวกับพระเจ้าต่อสังคมโลกียะนิยมในปัจจุบันได้อย่างไร?

ความไม่สนใจและการเพิกเฉย

คนจำนวนมากเลือกโรงเรียนคาทอลิกมิใช่เพราะได้รับแรงบันดาลใจจากคุณค่าทางจิตวิญญาณและคุณค่าความเป็นมนุษย์ในเป้าหมายของโรงเรียน คนเหล่านี้ไม่ได้แสดงความสนใจในคุณค่าดังกล่าว ผู้ปกครองจำนวนมากนำบุตรหลานมาเข้าโดยมุ่งหวังที่จะเข้ามาอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เต็มไปด้วยโอกาสมากมาย ได้รับการฝึกอบรมทางวิชาการที่ดี โดยคาดหวังว่าบุตรหลานจะมีความได้เปรียบในด้านอาชีพและความสำเร็จในชีวิต เราจะตอบโจทย์ต่อผู้ปกครองประเภทเพิกเฉยไม่สนใจเหล่านี้อย่างไร? ผู้ปกครองเหล่านี้ต้องการการศึกษาคาทอลิก แต่กลับมองสิ่งที่เป็นหัวใจของการศึกษาคาทอลิกอย่างผิวเผิน ไม่ต้องการมีส่วนร่วมหรือรับผิดชอบ 

มีข้อเสนอให้บูรณาการการอภิบาลของวัดกับการอภิบาลของโรงเรียนโรงเรียนคาทอลิกมุ่งที่จะประกาศพระวรสาร มิใช่เพียงจัดการเรียนการสอนคุณภาพเท่านั้น อย่างไรก็ตามการบูรณาการโรงเรียนกับแผนอภิบาลของสังฆมณฑลมิใช่เรื่องง่าย” 

การกัดกร่อนของอัตลักษณ์

เราพบสภาพที่โรงเรียนของรัฐบางแห่งให้ความสนใจน้อยมากต่อมิติทางศาสนาในการจัดการเรียนการสอน การตัดทิ้งศาสนาและความเชื่อออกจากมรดกทางวัฒนธรรมนับเป็นการลดทอนความสามารถในการพัฒนานักเรียนเป็นอย่างยิ่ง โรงเรียนคาทอลิกเองก็อาจพบอันตรายเช่นนี้ในสองประเด็นด้วยกัน

ประเด็นแรกคือ เราต้องเผชิญกับภัยของการยอมโอนอ่อนตาม ซึ่งหมายถึงการที่เรายอมรับหลักสูตรโดยขาดการใช้วิจารณญาณและการเฝ้าระวัง ขาดการเอาใจใส่ที่จะทำให้หลักสูตรโรงเรียนบรรลุถึงเป้าหมายแท้จริงของเรา

ความท้าทายหลักประการแรกที่โรงเรียนคาทอลิกต้องเผชิญคือการพัฒนาเป้าหมายทางการศึกษาที่มีลักษณะเฉพาะของตนตรงตามอัตลักษณ์คาทอลิก

ประเด็นที่สองคือการแทรกแซงของรัฐโดยการบังคับใช้หลักสูตรพร้อมกับข้อบังคับที่จำกัดอิสรภาพทางวัฒนธรรม หรือมาในรูปของการบังคับใช้แบบเรียน การบังคับใช้หลักสูตรและแบบเรียนอาจไปถึงขั้นที่คุกคามต่อมิติทางศาสนาและจิตวิญญาณของโรงเรียน

การแทรกแซงของรัฐเป็นการท้าทายต่อชุมชนโรงเรียน ที่ครู ผู้ปกครอง นักเรียนต้องร่วมกันสร้างชุมชนทางการศึกษาที่ได้รับเรียกให้ร่วมมือกับสถาบันต่างๆ ของพระศาสนจักร

ในกรณีเช่นนี้ชุมชนโรงเรียนกำลังเผชิญกับการท้าทายที่สำคัญ: ผู้บริหาร ครู ผู้ปกครอง นักเรียน ต้องร่วมกันสร้างชุมชนทางการศึกษาที่ลุกขึ้นต่อต้านการแทรกแซงของรัฐเช่นนี้ โดยได้รับพลังจากความยึดโยงกับพระศาสนจักร  

ความยั่งยืนทางเศรษฐกิจของโรงเรียนคาทอลิก

ในสภาพวิกฤติเศรษฐกิจโลกโรงเรียนคาทอลิกต้องเผชิญกับความท้าทายของการที่ต้องทำมากขึ้นและดีขึ้น แต่ทว่าด้วยเครื่องมือและทรัพยากรที่น้อยลง และนี่ก็เป็นความยากจนรูปแบบใหม่สำหรับครอบครัวชนชั้นกลางด้วย ในด้านหนึ่งสภาพเช่นนี้ทำให้ครอบครัวส่วนหนึ่งไม่สามารถเข้าถึงการศึกษาคาทอลิกเพราะค่าเล่าเรียน ในอีกด้านหนึ่งก็ทำให้เกิดความต้องการจำเป็นที่จะต้องให้การสนับสนุนแก่การศึกษาสำหรับคนยากจนที่สุดที่ได้รับสวัสดิการสังคมลดน้อยถอยลง

การดำเนินงานโรงเรียนคาทอลิกต่อๆ ไปต้องอาศัยการวางแผนกลยุทธ์ที่ดี ทั้งนี้ไม่เพียงเพราะปัจจัยที่ขึ้นอยู่กับสภาพเศรษฐกิจของโลกเท่านั้น แต่ความท้าทายที่เกิดจากการขาดแคลนเครื่องมือและทรัพยากรกำลังเป็นปัจจัยเชิงโครงสร้าง ทั้งในแง่การถดถอยในการอุดหนุนจากรัฐและกองทุนเอกชน อีกทั้งในแง่ค่าดำเนินการจัดการศึกษาที่สูงขึ้น ค่าดำเนินการนี้ขึ้นกับปัจจัยการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างต่อไปนี้:
  • การจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่ซับซ้อนขึ้นส่งผลให้เกิดค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นในด้านอาคารสถานที่ เทคโนโลยี บุคลากร และแหล่งทรัพยากร
  • ระบบการตรวจสอบ รูปแบบใหม่ของความยืดหยุ่นในกระบวนการจัดการเรียนรู้ ทำให้เกิดค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น

การให้ความเอาใจใส่ต่อผู้ด้อยโอกาสและผู้ขัดสน

โรงเรียนคาทอลิกต้องไม่มองกลุ่มนักเรียนที่หลากหลาย ทั้งกลุ่มผู้มีความต้องการบพิเศษ ผู้ที่ยากจน ขัดสน เป็นอุปสรรคหรือตัวถ่วง แต่เป็นกลุ่มนักเรียนที่สำคัญที่สุดของโรงเรียน ซึ่งต้องได้รับความห่วงใยและเอาใจใส่สูงสุด 

แต่มิติของพันธกิจเฉพาะของโรงเรียนคาทอลิกนี้ย่อมก่อให้เกิดความท้าทายของการขาดแคลนเครื่องมือและทรัพยากร

โรงเรียนคาทอลิกหลายแห่งพยายามเอาชนะความท้าทายนี้โดยยุทธวิธีต่างๆ โดยกำหนดนโยบายการให้ความช่วยเหลือทางการเงินทั้งในรูปแบบกองทุนการศึกษาและการกำหนดค่าใช้จ่ายที่เลือกรับบริการได้

4. ความท้าทายเรื่องการบริรูปหล่อหลอมและความเชื่อ

โดยไม่คำนึงถึงความแตกต่างของที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ ขนาด หรือบริบททางสังคม อุดมการณ์ที่ตกผลึกของสถาบันการศึกษาคาทอลิกประการหนึ่งคือ โรงเรียนคือประชาคมแห่งความเชื่อและชุมชนแห่งการเรียนรู้

ความท้าทายสำหรับโรงเรียนคาทอลิกคือการที่จะรักษาลักษณะความเป็นประชาคมที่แท้จริง สิ่งนี้เรียกร้องให้มีการไตร่ตรองถึงสิ่งที่โรงเรียนคาทอลิกคาดหวังจากตัวครูในด้านการพัฒนาทักษะและการบริรูปหล่อหลอมตามหลักคริสตธรรม

การคัดสรรและฝึกอบรมครู

ประเด็นที่สำคัญที่สุดคือความสามารถที่จะคัดสรรบุคลากรที่มีคุณลักษณะเหมาะสมในการเป็นครูของโรงเรียน โดยมีพื้นฐานบนคุณค่าคาทอลิก สิ่งนี้เป็นเรื่องที่ยากมาก ในสังคมที่ยิ่งทียิ่งเป็นโลกียะนิยมมากขึ้น ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยที่จะหาบุคลากรที่พร้อมด้วยคุณสมบัติด้านการสอนและคุณลักษณะตามคุณค่าคาทอลิก เพื่อดำรงการเป็นสถาบันการศึกษา โรงเรียนคาทอลิกจำเป็นต้องหาครูเพื่อสอนรายวิชาต่างๆ จึงจำต้องให้ความสำคัญเป็นอันดับต้นกับทักษะและคุณสมบัติทางวิชาชีพ ผลลัพธุ์คือ ทีละเล็กทีละน้อยบุคลากรครูในโรงเรียนอาจขาดคุณสมบัติการเจริญชีวิตความเชื่อหรือคุณค่าคาทอลิก 

ชุมชนการศึกษาต้องเป็นประจักษ์พยานชีวิตตามคุณค่าพระวรสาร และต้องหมั่นได้รับการฝึกอบรมขั้นสูงขึ้นในด้านอัตลักษณ์โรงเรียนคาทอลิกและกระแสเรียกการประกาศพระวรสาร

ประเด็นที่สองคือ กระบวนการฝึกอบรมสำหรับครู กระบวนการนี้ควรรวมถึงการฝึกอบรมเตรียมครูใหม่ก่อนปฏิบัติหน้าที่สอนในโรงเรียนคาทอลิก โดยมีการอธิบายเป้าหมายทางการศึกษาเฉพาะของโรงเรียนคาทอลิก และมนุษยวิทยาคริสต์

ประเด็นที่สามคือ การที่โรงเรียนคาทอลิกเป็นที่ดึงดูดใจของครูใหม่และสามารถรักษาบุคลากรครูไว้ได้ ครูใหม่ต้องการทำงานในโรงเรียนของรัฐเพราะได้ค่าตอบแทนสูงกว่า และยังมีครูในโรงเรียนคาทอลิกที่ออกไปเข้าบรรจุในโรงเรียนรัฐ ปัญหาที่โรงเรียนคาทอลิกประสบคือการรักษาครูผู้สอนที่ได้รับการฝึกอบรมอย่างดีและมีแรงบันดาลใจสูง

ต่อหน้าปัญหาดังกล่าวโรงเรียนคาทอลิกพยายามแสวงหาวิธีตอบความท้าทายเรื่องบุคลากรผู้สอนในสังคมโลกียะนิยม และความยากลำบากในการดึงดูดและคัดสรรครูที่มีคุณสมบัติด้านวิชาชีพ จริยธรรม และศาสนา

มีข้อเสนอต่างๆ เพื่อตอบความท้าทายนี้ อาทิ จัดทำระบบการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์อย่างเป็นรูปแบบโดยกลุ่มโรงเรียน ทำคู่มือการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ที่อธิบายขั้นตอน แนวทางและเครื่องมือการคัดสรร การนำเข้าสู่งานของบุคลากร ซึ่งครอบคลุมแบบทดสอบทางจิตวิทยา แบบทดสอบความรู้ แบบทดสอบทักษะการสอน บทสัมภาษณ์ การทดลองสอน ทั้งนี้เพื่อเข้าใจคุณลักษณะและทักษะของผู้สมัคร   

เพื่อวางแผนนโยบายการคัดสรรและพัฒนาบุคลากร โรงเรียนคาทอลิกจำเป็นต้องร่วมกันทำงาน มีผู้ให้ความเห็นว่าน่าเสียดายที่ในสังฆมณฑลมีโรงเรียนคณะนักบวชหลายคณะ พวกเขาพบปัญหา ความท้าทายเดียวกัน แต่ต่างคนต่างแก้ปัญหาของตนไป

มีกลไกที่ควรเป็นแบบอย่างสำหรับโรงเรียนคาทอลิกทั่วโลกในการตอบความท้าทายนี้ มีระบบการประเมินมาตรฐาน (accreditation) และการกำหนดคุณสมบัติ (qualification) ในหลายประเทศ เช่น ออสเตรเลีย ที่สามารถตอบโจทย์การวางแผนนโยบายการคัดสรรและพัฒนาบุคลากรที่สอดคล้องกับความคาดหวังเฉพาะของโรงเรียนคาทอลิก ในการนี้มีการร่วมมือกันทำงานในหมู่สังมณฑลและโรงเรียนคาทอลิกต่างๆ นี่เป็นกลไกความร่วมมือระหว่างสถาบันในการคัดสรรบุคลากร 

ภาวะผู้นำฆราวาส

เอกสารเตรียมประชุมสมัชชาอธิบายบทบาทของผู้นำในด้านการสนับสนุนสถาบันและการให้คำแนะนำว่า ผู้นำเป็นผู้สร้างชุมชนในด้านการศึกษาและด้านความเชื่อ: "ผู้บริหารโรงเรียนควรเป็นผู้นำที่ทำให้การจัดการศึกษาเป็นการประกอบพันธกิจร่วมกัน อยู่เคียงข้างและจัดระบบบุคลากรครู และส่งเสริมการทำงานและการช่วยเหลือซึ่งกันและกันนอกจากนี้เอกสารยังเน้นบทบาทของการเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณและบทบาทการเป็นจุดอ้างอิงสำหรับพระสังฆราชในด้านการอภิบาล ดังนั้นพระศาสนาจักรพึงให้ความสำคัญต่อการคัดสรรและการบริรูปหล่อหลอม/ฝึกอบรมที่ต่อเนื่องของผู้นำ

ผู้ตอบแบบสอบถามพูดถึงคำว่าผู้นำโดยเกี่ยวข้องกับด้านต่อไปนี้
  • พันธกิจ: เน้นบทบาทของผู้นำในฐานะที่เป็นผู้ส่งเสริมคุณค่าอัตลักษณ์และพันธกิจสถาบัน
  • วิสัยทัศน์: เน้นการเสริมสร้างต้นแบบเชิงวัฒนธรรมของภาวะผู้นำ เช่น ต้นแบบซึ่งโฟกัสที่คุณค่าอัตลักษณ์ อันเป็นพื้นฐานของวิสัยทัศน์เกี่ยวกับชุมชนทางการศึกษาในการประกาศพระวรสาร
  • การฝึกอบรม: การพัฒนาผู้บริหารต้องเน้นความสำคัญของการบริรูปหล่อหลอมในความเชื่อ

เป้าหมายทางการศึกษาของโรงเรียนคาทอลิกต้องอ้างอิงอย่างชัดเจนถึงพระวรสารและคำสั่งสอนของพระศาสนจักร และอธิบายคุณค่าที่เป็นพื้นฐานในการตัดสินใจและการดำเนินงานของชุมชนทางการศึกษา ผู้บริหารมีหน้าที่รับผิดชอบในการนำเป้าหมายเหล่านี้ไปปฏิบัติอย่างมีเอกภาพและความต่อเนื่อง ผู้บริหารมีหน้าที่รับผิดชอบในการทำให้เกิดลักษณะเฉพาะของโรงเรียน และมีความรับผิดชอบด้านอภิบาลในทุกมิติของชีวิตโรงเรียน

ด้วยภาวะผู้นำทางจิตวิญญาณผู้บริหารพัฒนาจิตวิถีของโรงเรียนโดยเจริญชีวิตเป็นประจักษ์พยานและต้นแบบแห่งความเชื่อ ให้ความใส่ใจในการเสริมสร้างวัฒนธรรมของความร่วมมือและเกื้อกูลกัน อีกทั้งจัดโอกาสสำหรับครู นักเรียน และผู้ปกครอง ให้มีกิจกรรมที่ช่วยบริรูปหล่อหลอม การประชุมอบรมด้านจิตใจ และกิจกรรมด้านอภิบาลของสังฆมณฑล

ในปัจจุบัน ฆราวาสจำนวนมากอยู่ในตำแหน่งบริหาร โรงเรียนคาทอลิกจะตอบโจทย์ความท้าทายเรื่องการเสริมสร้างอัตลักษณ์และความเป็นชุมชนภายใต้ภาวะผู้นำฆราวาสอย่างไร? ในหลายแห่งมีการจัดการฝึกอบรมด้านภาวะผู้นำการศึกษาคาทอลิก หรือโปรแกรมการศึกษาต่อระดับปริญญาโทด้านการศึกษาคาทอลิก




ภาวะผู้นำร่วม (Shared Leardership)

ในโรงเรียนคาทอลิกผู้นำสถาบันต้องทำงานอย่างหนักในการมุ่งผลสัมฤทธิ์ที่คาดหวัง และขณะเดียวกันก็สร้างบรรยายกาศของความเคารพในศาสนาและวัฒนธรรม เพื่อตอบโจทย์ความท้าทายนี้ ความคิดเกี่ยวกับภาวะผู้นำเองต้องไม่จำกัดในตัวบุคคลคนเดียว ในโรงเรียนคาทอลิกภาวะผู้นำต้องเป็นคุณสมบัติของชุมชนทั้งหมด กระจายระดับความรับผิดชอบภายในสถาบัน 

โรงเรียนคาทอลิกมุ่งที่จะสร้างชุมชนการศึกษาแห่งการประกาศพระวรสาร’ (educational community of evangelization) ชุมชนที่ครอบคลุมถึงนักเรียน ผู้ปกครอง ครู ผู้บริหาร และพระสงฆ์/นักบวช ที่มีจิตตารมณ์ของคุณค่าหลักทางการศึกษาและทางจิตวิญญาณ และชุมชนที่มีประสพการณ์ชีวิตจริง ซึ่งมุ่งสู่การประกาศพระวรสารและความดีของเยาวชน ท่ามกลางความท้าทายของบริบทของความแตกต่างทางวัฒนธรรมและศาสนา และบริบทสังคมที่มีความเป็นโลกียะนิยมนับวันยิ่งสูงขึ้น ในบริบทเช่นนี้ ความพยายามที่จะสร้าง "ภาวะผู้นำร่วม" จึงเป็นเสมือนยาต้านลักษณะความเป็นปัจเจกนิยมของมัน

ประเด็นที่สำคัญคือภาวะผู้นำร่วม” (shared leardership) ต้องนำไปสู่การบรรลุพันธกิจร่วม” (shared mission) ด้วย แม้ว่ามีการจัดโครงสร้างองค์กรให้มีความรับผิดชอบร่วมกันแล้วก็ตาม หรือแม้มีการแจกแจงบทบาทภาวะผู้นำในระดับต่างๆ ขององค์กรแล้วก็ตาม ยังมีความเสี่ยงที่จะเป็นไปเพียงในรูปแบบเท่านั้น มิได้เป็นไปในทิศทางที่เกิดการบรลุเป้าหมายร่วมกันอย่างแท้จริงพันธกิจร่วมคือความเป็นจริงของชีวิตในจิตตารมณ์แห่งการหลอมรวมเป็นหนึ่ง (shared mission is a reality of life in a spirit of communion) การจัดโครงสร้างองค์กรมีความจำเป็นก็จริง แต่หากขาดความทุ่มเทที่แท้จริงในการคัดสรรและฝึกอบรมผู้นำที่ร่วมส่วนในพันธกิจด้วยจิตตารมณ์ของการเสริมประสาน การร่วมงาน และความเป็นหมู่คณะร่วมกับพระสงฆ์/นักบวชแล้ว ก็ยากที่จะบรรลุผล ขณะเดียวกัน การที่พระสงฆ์/นักบวชมอบบทบาทผู้นำให้กับฆราวาสในระดับต่างๆ นั้น จะต้องนำพาถึงการถ่ายทอดจิตตารมณ์ พระพรพิเศษ และพันธกิจเฉพาะที่มุ่งหวัง แก่ฆราวาสไปพร้อมกันด้วย

การสร้างชุมชนทางการศึกษาพร้อมกับครอบครัว

คำประกาศของสภาสังคายนาฯการศึกษาแบบคริสต์มองว่าครอบครัวเป็นองค์สำคัญของการศึกษาของลูก ผู้ปกครองเป็นผู้ให้การศึกษาคนแรกของลูก สถาบันการศึกษาและสถาบันคาทอลิกต้องทุ่มเทพยายามทุกอย่างเท่าที่จะทำได้ในการสร้างความร่วมมือกับผู้ปกครอง โดยการส่งเสริมรูปแบบทั้งหลายของการเสาวนา การมีส่วนร่วม ความเปิดกว้างต่อกัน และความรับผิดชอบร่วมกัน หากโรงเรียนมีแรงดลบันดาลในการสร้างชุมชน โรงเรียนจำต้องให้ความสนใจอย่างยิ่งต่อครอบครัว ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของชุมชน เป็นพันธมิตรที่จะช่วยทำให้โรงเรียนมีลักษณะที่เปิดต้อนรับมากขึ้น

ในบริบทของชุมชนเราไม่อาจมองครอบครัวเป็นเพียงลูกค้าผู้รับการบริการแบบเบ็ดเสร็จ แต่เราก็ชไม่อาจมองครอบครัวเป็นตัวปัญหา หรือตัวร้องเรียน ด้วยเช่นกัน แต่เราต้องตระหนักว่า 

การศึกษาต้องการความเป็นหุ้นส่วนกันระหว่างผู้ปกครองกับผู้จัดการศึกษา เพื่อให้บริการทางการศึกษาที่มีความหมาย จัดการศึกษาที่เปิดรับพระเจ้า เพื่อนมนุษย์ และชีวิตทั้งหลายบนโลก เนื่องด้วยการศึกษาเป็นความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ความเป็นหุ้นส่วนกันนี้จึงยิ่งเป็นสิ่งจำเป็น ในกระบวนการของความเป็นหุ้นส่วนกันนี้ เราจึงมองเห็นความเชื่อโลกุตระ ครอบครัว พระศาสนจักร และจริยธรรม ในมิติความเป็นชุมชนอย่างแท้จริง

การศึกษาเจริญงอกงามในบรรยายกาศทางศึกษาที่มีพื้นฐานอยู่บนชุมชน และองค์ประกอบของครอบครัวนั้นมิอาจถูกมองข้าม ในทางตรงกันข้าม ครอบครัวมีบทบาทที่สำคัญของตน ในฐานะที่เป็นหุ้นส่วนสำคัญ อย่างไรก็ดี แม้อาจมีความซับซ้อนในทางปฏิบัติ ความเป็นหุ้นส่วนกันนี้ก็ยังคงเป็นจุดมุ่งหวังที่เราควรออกแรงพยายามที่จะบรรลุถึง

อย่างไรก็ตาม ในบางสถานการณ์ สิ่งที่โรงเรียนทำได้มากที่สุดก็คือเป็นเพียงตัวตายตัวแทนของครอบครัว มากกว่าที่จะเป็นการร่วมมือกันระหว่างโรงเรียนกับครอบครัว สถานการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นเมื่อมีนักเรียนที่มาจากครอบครัวที่ประสบปัญหา หรือนักเรียนที่ผู้ปกครองทอดทิ้งหรือละเลยหน้าที่

มากกว่าการจัดการศึกษาตามข้อเรียกร้อง

ในบางกรณี สิ่งที่ผู้ปกครองต้องการสำหรับบุตรหลานแตกต่างจากสิ่งที่การศึกษาคาทอลิกต้องการที่จะเสนอ หลายครอบครัวให้ความสนใจโรงเรียนคาทอลิกเพราะคุณภาพการศึกษา อาคารสถานที่ ความสะดวกสบาย โอกาสสู่ความสำเร็จ สิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัย และการปลอดอบายมุขเท่านั้น ผู้ปกครองเหล่านี้พร้อมที่จะจ่ายค่าเล่าเรียนสูง และสร้างแรงกดดันเรียกร้องจากโรงเรียนให้จัดการศึกษาคุณภาพ แต่ขณะเดียวกันอาจไม่สนใจในเป้าหมายที่แท้จริงของการศึกษาคาทอลิก

หลายครอบครัวเข้าในโรงเรียนคาทอลิกมิใช่เพราะการบริรูปหล่อหลอมทางความเชื่อ แต่เพื่อคุณภาพการศึกษา ครอบครัวเหล่านี้ไม่สู้สนใจการบริรูปหล่อหลอมทางจิตวิญญาณในด้านเหนือธรรมชาติ ทั้งสำหรับตนเองและบุตรหลาน 

โรงเรียนที่ได้รับแรงกดดันเช่นนี้อาจสุ่มเสี่ยงที่จะลดทอนเป้าหมายที่แท้จริงของตน หรืออาจถึงขั้นเอออวยกับแรงกดดันดังกล่าวทั้งหมด

ประเด็นมิได้อยู่ที่การปฏิเสธข้อเรียกร้องของผู้ปกครองเพื่อคุณภาพ การบรรลุถึงโรงเรียนคุณภาพและการศึกษาแบบวิชาการเข้มข้นในตัวมันเองนับเป็นคุณค่า ที่เราต้องพยายามอย่างมากเพื่อไปให้ถึง อย่างไรก็ตาม ต้องไม่มองว่านี่เป็นเป้าหมายเดียวหรือเป้าหมายสูงสุดของเรา ขณะเดียวกัน เราต้องพยายามให้การอบรมผู้ปกครองให้มีความต้องการและข้อเรียกร้องที่ถูกต้อง ตรงตามเป้าหมายที่เป็นอัตลักษณ์คาทอลิก

เป็นที่ชัดเจนว่า เพราะผู้ปกครองมองโรงเรียนคาทอลิกเป็นโรงเรียนที่จัดการศึกษาคุณภาพนั่นเอง พระศาสนจักรจึงจะมีโอกาสที่จะใ้นการเป็นประจักษ์พยานแบบมีความหมายในวงการศึกษา และมีเวทีเฉพาะที่สำคัญในการเสาวนาปฏิสัมพันธ์กับครอบครัว ดังนั้นการบริรูปหล่อหลอมบุคลากร ครู ผู้บริหาร และครอบครัวจึงสำคัญอย่างยิ่ง 

อุปสรรคสำคัญอีกประการหนึ่งในการทำให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วม คือท่าทีของผู้ปกครองที่มอบหมายทุกสิ่งทุกอย่างให้อยู่ในความรับผิดชอบของโรงเรียน ผลลัพธ์คือ ผู้ปกครองรู้สึกว่าไม่ต้องมีบทบาทอะไร ไม่ต้องรับผิดชอบใดๆ ในการศึกษาของบุตรหลาน พวกเขาอยู่ในมือของโรงเรียนที่ดีก็พอแล้ว
แน่นอนว่าความสนใจมีส่วนร่วมของผู้ปกครองมีมากกว่าเมื่อเด็กอยู่ในวัยแรกเริ่ม แต่เราสามารถรักษาความสนใจมีส่วนร่วมของผู้ปกครองไว้ให้นานจนเด็กโตเป็นเยาวชน ด้วยกิจกรรมที่แบ่งกว้างๆ เป็นสองประเภท ได้แก่ ) กิจกรรมสำหรับครอบครัว ) กิจกรรมร่วมกับครอบครัว

ในกิจกรรมประเภทแรกผู้ปกครองเป็นผู้รับ ผู้บริหารโรงเรียนและครูเป็นผู้นำ โรงเรียนมักใช้กิจกรรมประเภทนี้เป็นส่วนใหญ่

กิจกรรมประเภททที่สองทำได้ยากกว่า ทั้งสองฝ่ายต้องรับผิดชอบร่วมกัน มีการทำงานแบบหุ้นส่วนอย่างแท้จริง

การบริรูปหล่อหลอมสำหรับผู้ปกครอง

วิธีการหลักในการทำให้ครอบครัวมีส่วนร่วมคือกิจกรรมต่างๆ ที่จัดสำหรับผู้ปกครอง อาทิ การประชุม การประชุมรับฟังความเห็น การประชุมพบปะเพื่อรับผลการเรียน การอบรมโดยผู้เชี่ยวชาญ การฟื้นฟูจิตใจ การร่วมกิจกรรมต่างๆ และฉลองต่างๆ ของโรงเรียน ฯลฯ การบริรูปหล่อหลอมผู้ปกครองเช่นนี้เป็นโอกาสให้ผู้ปกครองมีความลึกซึ้งมากขึ้น ทั้งในด้านการเดินทางชีวิตของตนเองและบทบาทหน้าที่การเป็นผู้อบรมของบุตรหลาน กิจกรรมเหล่านี้จึงมีลักษณะเป็นการอภิบาลครอบครัวไปด้วยในตัว

โรงเรียนสามารถเชิญผู้ปกครองคาทอลิกมาร่วมการภาวนา การแบ่งปันทางจิตวิญญาน การฟื้นฟูจิตใจ กิจกรรมเหล่านี้สามารถทำในกลุ่มผู้ปกครองหรือทำร่วมกับนักเรียน

การพบปะผู้ปกครอง

นอกเหนือจากกิจกรรมเป็นทางการของโรงเรียน ยังมีกิจกรรมลักษณะอื่นที่สัมฤทธิ์ผลมาก นั่นคือการพบปะผู้ปกครอง ซึ่งอาจทำในรูปการเยี่ยมบ้าน ซึ่งทำให้โรงเรียนรู้จักนักเรียนอย่างดี ในสถานการณ์จริง หากเกิดสถานการณ์ที่ครอบครัวประสบวิกฤติ โรงเรียนสามารถจัดบริการให้คำปรึกษาแนะนำผู้ปกครองทั้งที่โรงเรียนหรือที่บ้าน โรงเรียนบางแห่งให้ความสำคัญในการให้คำปรึกษาแนะนำกับผู้ปกครองก่อนให้กับนักเรียน การพบปะผู้ปกครองที่บ้านช่วยแก้ปัญหาของหลายครอบครัวที่มีปัญหาทางเศรษฐกิจจนไม่สามารถผละงานมาประชุมที่โรงเรียนได้ 

จากกิจกรรม 'สำหรับ' ครอบครัวเป็นกิจกรรม 'ร่วมกับ' ครอบครัว

ในการจัดการศึกษาจำเป็นต้องมีความสัมพันธ์เหนียวแน่นระหว่างนักเรียน ผู้ปกครอง และผู้อบรม เพื่อนำเสนอการศึกษาคุณภาพ และชีวิตที่ดี มีความหมาย และเปิดต่อพระเจ้าและผู้อื่น

อย่างไรก็ดี ความสัมพันธ์นี้ควรพัฒนาจากการพบปะและความร่วมมือในระดับพื้นฐานที่โรงเรียนริเริ่ม ไปสู่ระดับที่มีปฏิสัมพันธ์และบูรณาการ ลักษณะเช่นนี้เกิดขึ้นชัดเจนในโรงเรียนหลายแห่งที่มีสมาคมผู้ปกครอง 

บทบาทของสมาคมผู้ปกครองมีประโยชน์ต่อการจัดการศึกษาเป็นอย่างมาก องค์กรนี้สามารถช่วยผู้ปกครองในการมีความรับผิดชอบในการจัดการศึกษาและสร้างความเป็นหุ้นส่วนกันกับโรงเรียนอย่างสร้างสรรค์ ในโรงเรียนคาทอลิกความร่วมมือเช่นนี้มีพื้นฐานอยู่บนเป้าหมายทางการศึกษาของโรงเรียน

เราควรพัฒนาจากความสัมพันธ์แบบสวัสดิการโดยที่โรงเรียนทำหน้าที่ให้ความช่วยเหลือ เปลี่ยนเป็นความสัมพันธ์แบบหุ้นส่วน ซึ่งยึดโยงทั้งสองฝ่ายในปฏิสัมพันธ์ที่ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน โดยมีการแบ่งปันในพันธกิจของสถาบันการศึกษา

การสร้างความเป็นพันธมิตรหุ้นส่วนระหว่างโรงเรียนคาทอลิกกับครอบครัวด้วยการสนับสนุนกัน การยอมรับ และการเสริมสร้างคุณค่าเช่นนี้ ทำให้โรงเรียนคาทอลิกสามารถประกอบภารกิจการประกาศพระวรสารขึ้นใหม่ 

โรงเรียนคาทอลิกควรออกไปสู่ครอบครัวผู้ปกครองในฐานะหุ้นส่วนในการศึกษาของเด็กๆ การสนับสนุนครอบครัวและหาวิธีใหม่ๆ ในการสอนคำสอนครอบครัวของนักเรียนนับเป็นการประกาศพระวรสารขึ้นใหม่ 

มิติอภิบาล

คำว่าอภิบาลทำให้เรานึกถึงผู้ที่ให้การดูแล อาทิ พระสงฆ์ นักบวช วัด สังฆมณฑล โรงเรียน ครู เป็นต้น นอกจากนี้ยังทำให้เรานึกถึงวิธีการให้ความเอาใจใส่ เช่น การปลุกเร้า การท้าทาย การกระทำ แต่คำอภิบาลก็ยังเชื่อมโยงถึงอัตลักษณ์คาทอลิกด้วย อีกทั้งบ่งบอกถึงความจำเป็นของการฝึกอบรม  

ผู้อภิบาลในโรงเรียนคาทอลิก ซึ่งถือว่าเป็นสถาบันที่เป็นเครื่องมือของพระศาสนจักร ย่อมโฟกัสที่การดูแลนักเรียนและครอบครัว นโยบายและโครงสร้างของโรงเรียนถูกออกแบบให้สร้างผลกระทบในตัวนักเรียนที่เจริญชีวิตอยู่ในสิ่งแวดล้อมต่างๆ พระศาสนจักรหลายแห่งมีแผนอภิบาลที่บูรณาการบทบาทของบ้าน วัด และโรงเรียน

ในบริบทสังคมที่มีความเป็นโลกียะนิยมและพหุนิยมมากยิ่งขึ้นนี้ บทบาทของโรงเรียนคาทอลิกและคุณค่าที่โรงเรียนถือไม่เพียงแต่มีความสำคัญต่อการธำรงความดีเท่านั้น แต่ยังให้ความหมายและให้ทิศทางแก่เยาวชนในวันนี้ ซึ่งจะมีบทบาทนำในอนาคต

การศึกษาคาทอลิกมีมิติที่กว้างขึ้น เมื่อมองในแง่ที่การสอนมีขอบข่ายพ้นออกจากเขตโรงเรียน โดยตระหนักว่ามีนักเรียนจำนวนหนึ่งที่ไม่ได้เรียนอยู่ในโรงเรียน แต่ในโรงเรียนรัฐและเอกชนอื่น นี่เป็นความท้าทายทางอภิบาลในการให้บริการพ้นออกจากเขตโรงเรียน 

ในการให้ความสำคัญต่อการศึกษาแบบองค์รวม โรงเรียนคาทอลิกหลายแห่งกำหนดแนวทางการจัดการศึกษาแบบองค์รวมสำหรับนักเรียนที่ไม่ใช่คาทอลิก หรือการจัดโปรแกรมคาทอลิกครอบคลุมไปถึงโรงเรียนที่ไม่ใช่คาทอลิกด้วย

โรงเรียนหลายแห่งมีส่วนร่วมในการริเริ่มต่างๆ ที่มุ่งช่วยให้ผู้นำโรงเรียนเข้าใจและเพิ่มบทบาทในการเอื้ออำนวยความร่วมมือระหว่างบ้าน วัด และโรงเรียนอย่างมีประสิทธิผล การเสริมสร้างความเชื่อเช่นนี้ นับเป็นความท้าทายที่สำคัญที่สุดประการหนึ่งที่โรงเรียนคาทอลิกกำลังเผชิญ มีความพยายามมากมายอันน่าชื่นชมเพื่อสนับสนุนการบริรูปหล่อหลอมความเชื่อดังกล่าว แต่ในสภาพจริงแล้ว โรงเรียนมีระดับความทุ่มเทต่อการบริรูปหล่อหลอมความเชื่อที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้นพระสงฆ์สังฆมณฑลบ่อยครั้งต้องเป็นฝ่ายที่ให้ความเอาใจใส่ทางอภิบาล


ในระดับมหภาค โรงเรียนเชื่อในบทบาทที่สำคัญของผู้ปกครอง ตระหนักในการที่ผู้ปกครองเป็นครูคนแรก และตระหนักถึงความจำเป็นที่จะให้ผู้ปกครองร่วมส่วนในการศึกษาของลูกทั้งทางตรงและทางอ้อม ในระดับจุลภาค โรงเรียนที่ตระหนักในบทบาทสำคัญของตนในโลกปัจจุบันจำเป็นต้องเป็นกระบอกเสียงสำหรับเด็กๆ ที่ตนจัดการศึกษา และสำหรับชุมชนภายนอกที่โรงเรียนมีผลกระทบถึง เช่น บ้านคนชรา โครงการคำสอน การศึกษาพระคัมภีร์ งานจิตอาสา เป็นต้น